DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
dc.contributor.author วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-04-09T04:41:10Z
dc.date.available 2017-04-09T04:41:10Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52741
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พยายามฆ่าตัวตายที่นอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยอายุกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา โดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Chronbach’s Alpha coefficients) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1.ความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2.ความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to compare the coping ability of suicidal attempters before and after the utilization of the empowerment program and to compare the coping ability of suicidal attempters in the experimental group and control group .The subjects composed of 40 suicidal attempters who met the inclusion criteria and were admitted to the patient department of Chaophraya Yommrat Hospital. The experimental group received empowerment program, where as the control group received regular caring activities. Research instruments were empowerment program and the coping ability scale. These instruments were examined for content validity by 5 psychiatric experts. The reliability of the scale by Chronbach’s Alpha coefficients was.83. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The results of this study were as follow: 1. Coping ability of suicidal attempters in experimental group after using empowerment program was significantly higher than before using empowerment program, at the .001 level. 2. Coping ability of suicidal attempters in experimental group after using empowerment program was significantly higher than control group, at the .001 level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1786
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การฆ่าตัวตาย en_US
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en_US
dc.subject ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา) en_US
dc.subject Suicide en_US
dc.subject Adjustment (Psychology) en_US
dc.subject Adaptability (Psychology) en_US
dc.title ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย en_US
dc.title.alternative The effect of empowerment program on coping ability of suicidal attempters en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Oraphun.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1786


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record