DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบากโดยเน้นการบริหารกาย-จิตด้วยซีกงต่อคุณภายชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร ธนศิลป์
dc.contributor.advisor สุนิดา ปรีชาวงษ์
dc.contributor.author เกศรางค์ เสียงไพโรจน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-04-09T06:26:38Z
dc.date.available 2017-04-09T06:26:38Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52744
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบาก โดยเน้นการบริหารกาย – จิตด้วยชี่กงต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อยู่ในชุมชนอำเภอพนมสารคาม และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยให้แต่ละกลุ่ม มีเพศ และระดับความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับเท่ากัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบากโดยเน้นการบริหารกาย-จิตด้วยชี่กง ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับอาการหายใจลำบาก 2) การให้ความรู้ในการจัดการกับอาการหายใจลำบาก 3) การฝึกทักษะในการจัดการกับอาการหายใจลำบาก 4) การปฏิบัติการในการจัดการกับอาการหายใจลำบากด้วยตนเอง 5) การประเมินผลการจัดการกับอาการหายใจลำบาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดดัชนีคุณภาพชีวิตซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .72 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบากโดยเน้นการบริหารกาย-จิตด้วยชี่กงสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X ก่อนทดลอง = 54.09, X หลังทดลอง = 66.73, t = 11.25, p < .05) 2. ค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตภายหลังเข้าร่วมการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( X กลุ่มทดลอง = 66.73, X กลุ่มควบคุม = 54.16, t = 4.93, p > .05) en_US
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research aimed to test the effect of the Management Program focusing on Qigong practice on Dyspnea. The sample included 40 patients with COPD at Phanomsaracam district. Twenty patients were assigned to a control group and another twenty were assigned to experimented group. The groups were matched in terms of gender and disease severity. The control group received routine nursing care while the experimental group received the Dyspnea Management focusing Qigong Practice Program, based on the Symptom Management Model and complementary concepts, which comprised of five sessions: a) assessment patient’s symptom experience b) knowledge providing c) skill development d) self-symptom management e) evaluation. The instrument for collecting data was Quality of Life Index (QOL) and was tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .72. Data were analyzed using descriptive statistic and t-tests. The major findings were as follows: 1. The posttest mean score of quality of life of the experimental group was significantly higher than at the pretest phase (X pre = 54.09, X post = 66.73, t = 11.25, p < .05). 2. The posttest mean score of quality of life of the experimental group was significantly higher than that of the control group (X experimental = 66.73, X control = 54.16, t = 4.93, p> .05). en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1002
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย en_US
dc.subject คุณภาพชีวิต en_US
dc.subject ชี่กง en_US
dc.subject Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients en_US
dc.subject Quality of life en_US
dc.subject Qi gong en_US
dc.title ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบากโดยเน้นการบริหารกาย-จิตด้วยซีกงต่อคุณภายชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง en_US
dc.title.alternative The effect of dyspnea management focusing on qigong practice program on quality of life among patients with chronic obstructive pulmonary disease en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor s_thanasilp@hotmial.com
dc.email.advisor Sunida.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.1002


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record