DSpace Repository

การกักเก็บเมนทอลในแป้งข้าวเจ้าโดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภินันท์ สุทธิธารธวัช
dc.contributor.advisor อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
dc.contributor.author พิชญ์วิภา พรหมมาศ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-04-24T04:29:13Z
dc.date.available 2017-04-24T04:29:13Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52782
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การกักเก็บเมนทอลโดยใช้เฉพาะแป้งข้าวเจ้านั้น จะให้ค่าร้อยละปริมาณเมนทอลที่คงเหลือในผงแห้งประมาณ 1.8% ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาวิธีการที่จะเพิ่มค่าการกักเก็บ เช่น การหาปริมาณของแข็งในสายป้อนที่เหมาะสม เพื่อให้อนุภาคสามารถเกิดเป็นโครงสร้างที่กักเก็บเมนทอลได้ การเติมสารอิมัลซิไฟเออร์ การเติมสารช่วยเกิดชั้นฟิล์ม รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการระเหยของน้ำ เช่น อุณหภูมิอากาศขาเข้า ความเร็วรอบของหัวฉีดแบบจากหมุน และความเร็วในการป้อนสารเข้าเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย อย่างไรก็ตามจากการเพิ่มค่าการกักเก็บด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ร้อยละปริมาณเมนทอลที่คงเหลือในผงแห้งมีค่าสูงถึง 73.7% จากนั้นนำแป้งเย็นที่ผ่านการกักเก็บนี้มาเปรียบเทียบคุณสมบัติกับแป้งเย็นที่มีขายตามท้องตลาด ที่อุณหภูมิ 35 37 และ 40 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ 80% ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิของร่างกาย จากการทดลองนั้นพบว่าแป้งเย็นที่ผ่านการกักเก็บเมื่อผ่านไป 8 ชั่วโมง จะยังมีปริมาณเมนทอลที่คงเหลือในผงแห้งมากถึง 90% นั่นหมายถึงเมนทอลจะสามารถปลดปล่อยออกมาได้เป็นระยะเวลานานขึ้น เมื่อเทียบกับแป้งเย็นที่มีขายตามท้องตลาดที่มีปริมาณเมนทอลคงเหลือเพียง 70% 60% และ 40% ที่อุณหภูมิ 35 37 และ 40 องศาเซลเซียส ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการนำแป้งเย็นที่ผ่านการกักเก็บไปใช้งานจริงนั้น มีราคาต้นทุนที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับแป้งเย็นที่มีขายตามท้องตลาด ดังนั้นแนวทางหนึ่งคือการนำแป้งเย็นที่ผ่านการกักเก็บไปผสมกับทัลคัม เพื่อลดต้นทุนโดยสามารถคำนวณอัตราส่วนของการผสมจากค่าคงที่การปลดปล่อยเมนทอล ซึ่งพบว่าต้องใช้แป้งที่ผ่านการกักเก็บผสมกับทัลคัมในอัตราส่วนโดยมวล 1: 0.4 และ 1:1 เมื่อใช้แป้งข้าวเจ้าที่ไม่ผ่านการดัดแปลงและแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านดัดแปลงมากักเก็บเมนทอลตามลำดับ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณระยะเวลาการออกฤทธิ์เย็นของแป้ง ซึ่งพบว่าแป้งข้าวเจ้าที่ไม่ผ่านการดัดแปลงและแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านดัดแปลงจะออกฤทธิ์เย็นยาวนานถึง 125 ชั่วโมงและ 100 ชั่วโมงตามลำดับ ขณะที่แป้งเย็นที่มีขายตามท้องตลาดออกฤทธิ์เย็นเพียงแค่ 13.5 ชั่วโมง en_US
dc.description.abstractalternative Encapsulation of menthol by using only rice flour resulted in low retention at 1.8%. To obtain higher retention an addition of solid content, emulsifier, film forming material, an increase in drying rate from spay drying parameters such as inlet temperature, feed flow rate and atomizer speed could be employed to enhance retention to 73.7%. A comparison on the properties of encapsulated powder and commercial powder were made. Encapsulated powder could retain the menthol 90% at 35°C, 37°C and 40°C. On the other hand, the commercial powder could retain the menthol only 70%, 60% and 40% at 35°C, 37°C and 40°C, respectively. The results showed that the encapsulated powder could slowly release menthol from the particle, suggesting its long lasting efficiency and cooling time. The encapsulated powder could be mixed with talcum to reduce operative cost. The mixing formula and the cooling time could be calculated from rate constant. The results found that mass ratio between encapsulated powder and talcum were 1:0.4 and 1:1 when using rice flour and modified starch. The cooling time of these particles were 125 hours and 100 hours, while, the cooling time of commercial powder was 13.5 hours. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1811
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แป้งข้าวเจ้า en_US
dc.subject แป้งข้าวเจ้า -- การอบแห้ง en_US
dc.subject เมนทอล en_US
dc.subject การอบแห้งแบบพ่นกระจาย en_US
dc.subject Rice flour en_US
dc.subject Rice flour -- Drying en_US
dc.subject Menthol en_US
dc.subject Spray drying en_US
dc.title การกักเก็บเมนทอลในแป้งข้าวเจ้าโดยการอบแห้งแบบพ่นฝอย en_US
dc.title.alternative Encapsulation of menthol in rice starch by spray drying en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมี en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Apinan.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor uracha@nanotec.or.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1811


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record