Abstract:
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการตรวจเชื้อมัยโคพลาสมาจากสุกรและเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงจาก การจัดการทั่วไป การทำวัคซีน การให้ยาปฏิชีวนะ ต่อการติดเชื้อระหว่างวิธีการตรวจตัวอย่างโดยตรงด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส (DP) กับวิธีการเพาะเชื้อก่อนการตรวจด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส (CPP) เพื่อตรวจเชื้อมัยโคพลาสมาจากเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน นำตัวอย่างจาก ปอดทอนซิล และน้ำจากข้อต่อ จำนวนทั้งสิ้น 1024 ตัวอย่างจากสุกรอนุบาล สุกรขุน และสุกรในโรงเชือด เก็บข้อมูลด้านการจัดการ โปรแกรมการป้องกันโรคด้วยแบบสอบถาม ทำการตรวจหาเชื้อมัยโคพลาสมา ไฮโอนิวโมเนีย (MH), มัยโคพลาสมา ไฮโอซินโนเวีย (MHS) และ มัยโคพลาสมา ไฮโอไรนิส (MHR) ด้วยทั้ง 2 วิธี ในภาพรวม ความชุกของเชื้อเท่ากับ 63.5-82.8%, 7.7-15.6 % and 1.5-7.9% ตามลำดับ พบความสัมพันธ์ระหว่างรอยโรคที่ข้อต่อกับการตรวจพบเชื้อ MHR ด้วยวิธี DP แต่ไม่พบสำหรับการตรวจด้วย CPP สำหรับเชื้อ MHR และ MH ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพบเชื้อมัยโคพลาสมาที่ปอดได้แก่การคลุกหมูสาวกับสุกรแม่, ระบบการจัดการแบบ one site และระบบ non all in all out ในสุกรขุนตรวจพบเชื้อ MHS ในทอนซิล และ MHT ที่ช่องจมูกเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการทำวัคซีนป้องกันโรค PRRS ในสุกรสาว การทำวัคซีนป้องกัน MH สามารถลดการปรากฎของเชื้อ MH ที่ปอดได้ การให้ยาต้านจุลชีพในสุกรแม่และสุกรขุนจะช่วยลดการปรากฏของเชื้อ MHS ในทอนซิลได้ สรุปการวิจัยในครั้งนี้คืออัตราการตรวจพบเชื้อแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของตัวอย่างและกระบวนการตรวจ การจัดการให้สุกรลดการสัมผัสโดยตรงด้วยกระบวนการจัดการที่เหมาะสมจะช่วยลดการติดเชื้อมัยโคพลาสมาที่ปอดได้ การให้ยาเพื่อป้องกันเชื้อสามารถช่วยลดการติดเชื้อที่ทอนซิลได้ และการทำวัคซีนสามารถควบคุมการติดเชื้อที่ปอดได้ในทางปฏิบัติ แต่ไม่มีผลข้ามสายพันธุ์ของมัยโคพลาสมา