DSpace Repository

การประเมินมาตรการป้องกันและควบคุมเชื้อมัยโคพลาสมาในฟาร์มสุกรในประเทศไทย : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author ณุวีร์ ประภัสระกูล
dc.contributor.author รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
dc.contributor.author เมตตา เมฆานนท์
dc.contributor.author พัชรี ทองคำคูณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-05-05T10:43:12Z
dc.date.available 2017-05-05T10:43:12Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52856
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินรูปแบบการดื้อยาของเชื้อมัยโคพลาสมา ที่แยกได้จากสุกรที่อายุแตกต่างกัน และ แสดงรูปแบบลายนิ้วมือดีเอนเอของเชื้อที่มีการระบาดในฟาร์มและช่วงเลาที่ศึกษา เชื้อ Mycoplasma spp. จำนวน 209 เชื้อ แบ่งเป็น M. hyosynoviae, M. hyopneumoniae, และ M. hyorhinis จำนวน 13, 26, และ 170 เชื้อตามลำดับ ประเมินค่าความไวรับด้วยวิธี broth microdilution ต่อยาต้านจุลชีพ 6 ชนิด ได้แก่ doxycycline, tiamulin, valnemulin, tylosin, enrofloxacin และ lincomycin ทำการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยวิธี pulsed field gel electrophoresis เลือกเชื้อตัวแทนจากทุกกลุ่มตามความแตกต่างของพื้นที่ และช่วงอายุสุกร วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของประวัติการใช้ยา รูปแบบการดื้อยา และรูปแบบลายนิ้วมือดีเอนเอ ในห้องปฏิบัติการยาต้านจุลชีพที่มีประสิทธิภาพสูงสุด tiamulin และ valnemulin รองลงมาคือ doxycycline และ lincomycin ส่วนเชื้อมัยโคพลาสมาดื้อต่อ enrofloxacin และ tylosin ในระดับสูง (ประมาณ 40 %) และรูปแบบการดื้อยาไม่สัมพันธ์กับสูตรการให้ยาต้านจุลชีพในฟาร์ม พบรูปแบบลายนิ้วมือดีเอนเอตั้งแต่ 4 รูปแบบขึ้นไป เชื้อ M. hyopneumoniae สายพันธุ์ A และ M. hyosynoviae สายพันธุ์ B เป็นสายพันธุ์หลักที่มีการระบาดในพื้นที่ที่ศึกษาประเทศไทย ส่วนเชื้อ M. hyorhinis มีความหลายหลายสูงแต่ไม่มีความจำเพาะในพื้นที่ที่สำรวจ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสุกรขุน/สุกรอนุบาล และระหว่างการเก็บตัวอย่างต่างช่วงเวลา รูปแบบการให้ยาต้านจุลชีพในระบบการผลิตสุกรของประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดื้อยา และไม่มีผลต่อการเร่งอัตราการดื้อยาในช่วงเวลาที่สำรวจ การศึกษานี้จึงเป็นข้อมูลแย้งที่สำคัญว่าเชื้อดื้อยาที่ระบาดในมนุษย์อาจไม่ได้มีสาเหตุจากการจัดการทางปศุสัตว์ แต่อาจเป็นเพียงการแสดงออกพื้นฐานของสายพันธุกรรมดั้งเดิมของเชื้อมัยโคพลาสมาในช่วงเวลาปัจจุบัน และสายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทยมีความแข็งแรงมากพอที่จะคงอัตตลักษณ์หรือแบบแผนการแสดงออกในช่วงเวลาที่ศึกษา en_US
dc.description.abstractalternative The aims of this study were to determine antibiogram profiles of porcine mycoplasmas isolated from different pig age and evaluate a DNA finger print pattern of the pathogen distributing in the tested farms. A total of 209 Mycoplasma spp. comprising 13 M. hyosynoviae, 26 M. hyopneumoniae, and 170 M. hyorhinis were tested for susceptibility level by broth microdilution method against six antimicrobials; doxycycline, tiamulin, valnemulin, tylosin, enrofloxacin and lincomycin. To evaluate intra-species variation, pulsed field gel electrophoresis (PFGE) was utilized and the patterns of representative mycoplasmas derived from each area and each age group, were compared. The relation among history of antibiotic uses, antibiogram and finger printing patterns were statistical analyzed. Tiamulin and valnemulin was the most in vitro effective antimicrobials against porcine mycoplasmas, followed by doxycycline and lincomycin. While, high incidence of mycoplasmas resistant to enrofloxacin and tylosin was revealed at approximately 40% especially for M. hyorhinis. At least 4 PFGE patterns were detected among each species of porcine mycoplasmas. M. hyopneumoniae type A and M. hyosynoviae type B were predominantly found in our studied area in Thailand, whereas high genetic diversity of M. hyorhinis was found without geographical relation. Neither PFGE patterns nor use of antimicrobials in each farm did relate to among antibiograms. Considering to nursery and fattening pigs or longitudinal sampling, antibiotic consuming time did not show an inducible resistant effect. Thus, this may be controversially deducible that antibiotic resistant microorganism might not cause by livestock management but it might cause by an intrinsic genetic profile at the present. In Thailand, high fitness cost of mycoplasma genetic were demonstrated by consistency of genetic identity during study. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก เงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2555 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สุกร -- การติดเชื้อ en_US
dc.subject สุกร -- โรค en_US
dc.subject มัยโคพลาสมา en_US
dc.subject โรคเกิดจากแบคทีเรีย en_US
dc.title การประเมินมาตรการป้องกันและควบคุมเชื้อมัยโคพลาสมาในฟาร์มสุกรในประเทศไทย : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ en_US
dc.title.alternative Evaluation of routine control and preventive strategies of Mycoplasma Spp. in Thai pig farms en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author nuvee.p@chula.ac.th
dc.email.author roongroje.t@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record