DSpace Repository

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคกลาง

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนี ขวัญบุญจัน
dc.contributor.author สุดาวรรณ ขันธมิตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2017-06-11T09:58:08Z
dc.date.available 2017-06-11T09:58:08Z
dc.date.issued 2538
dc.identifier.isbn 9746321137
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52953
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคกลางและเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนตามตัวแปรที่ตั้งของโรงเรียน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคกลาง จำนวน 500 คน เป็นนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 250 คน และนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 250 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 500 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง นักเรียนมีความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในเรื่อง อาหารที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต อาหารที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง อาหารหญิงหลังคลอด ประโยชน์ของผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง ปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน อาหารที่มีสารบอแรกซ์ นักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลและนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีความรู้ดีกว่านักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 2. นักเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี นักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลและนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี นักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลและนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีการปฏิบัติดีกว่านักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of the research were to study and to compare the knowledge, attitudes and practices concerning food consumption of Prathom Suksa Six students under the Jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission in the Central Region. The independent variable was the school locations. Questionnaires were developed by the researcher. All 500 subjects were divided into two groups, each group was composed of 250 students from schools inside and outside the municipal/sanitary areas. All questionnaires were obtained and then analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. A t-test method was also applied to determine the significant differences. The findings were as follows: 1. The students’ knowledge was at the moderate level. Students’ knowledge under standard were: food helps to grow up, food makes bone and teeth strong, food for postpartum, the advantages of vegetables and yellow fruits, the amount of water that body wants per day and food contains borax. There were statistically significant differences at .05 level on food consumption knowledge between students from schools inside and outside municipal/sanitary areas. The knowledge of students from schools inside municipal/sanitary areas was better than those from school outside municipal/sanitary areas. 2. The students’ attitudes were at good level. There were no statistically significant differences at .05 level on food consumption attitudes between students from schools inside and outside municipal/sanitary areas. 3. The students’ practices were at good level. There were statistically significant differences at .05 level on food consumption practices between students from schools inside and outside municipal/sanitary areas. The practices of students from schools inside municipal/sanitary areas were better than those from schools outside municipal/sanitary areas. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นักเรียนประถมศึกษา -- โภชนาการ en_US
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย en_US
dc.subject การสำรวจภาวะโภชนาการ en_US
dc.subject อาหาร en_US
dc.subject Students -- Nutrition en_US
dc.subject Consumer behavior -- Thailand en_US
dc.subject Nutrition surveys en_US
dc.subject Food en_US
dc.title พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคกลาง en_US
dc.title.alternative Food consumption behaviors of prathom suksa six students under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission in the Central Region en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record