Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยผสมกับบิสมัทออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ วัสดุและวิธีการ วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีและขนาดอนุภาคของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตใน ประเทศไทยผสมกับบิสมัทออกไซด์ และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ โดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์อนาไลติคัลไมโคร สโคปโพรบ และเครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาค วิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาของวัสดุโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ อิเล็คตรอนชนิดส่องกราด จากนั้นวัดความเป็นกรด – เบส ทุก 1 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องวัดความ เป็นกรด – เบส ที่มีเทมเพอร์เรเจอร์คอมเพนเสทอิเล็กโทรด วัดความทึบรังสีของวัสดุ โดยนำมาเปรียบเทียบกับ อลูมิเนียมสเต็ปเวดจ์ ตามมาตรฐานไอเอสโอ 6876(2001) ส่วนเวลาแข็งตัววัดตามคำแนะนำของสมาคมวิจัยวัสดุ แห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้มาตรฐานไอเอสโอ 6876(2001) ความทนแรงอัดและความสามารถในการละลายได้วัด ตามไอเอสโอ 9917-1(2003) และมาตรฐานเอดีเอ หมายเลข 30 ตามลำดับ วิเคราะห์ผลการทดลองใช้สถิติ เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและสองทาง และการทดสอบที ผลการศึกษา ส่วนประกอบทางเคมี ขนาดอนุภาค และลักษณะสัณฐานวิทยาของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สี ขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทคือ ตรากิเลนและตราช้างเผือกผสมกับบิสมัทออกไซด์คล้ายกับไวท์ โปรรูทเอ็มทีเอ ความทึบรังสีของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทผสมกับบิสมัท ออกไซด์มีค่ามากกว่าไวท์โปรรูทเอ็มทีเออย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ ตราช้างเผือก และ ตรากิเลน ผสมกับบิสมัทออกไซด์มีค่าความเป็นกรด – เบส 12.5, 12.5 และ 12.6 ที่เวลา 23, 24 และ 16 นาที ตามลำดับ ตราช้างเผือกผสมกับบิสมัทออกไซด์จะมีเวลาเริ่มต้นแข็งตัว และเวลาแข็งตัวเต็มที่น้อยสุด นอกจากนี้ยังมีความทนแรงอัดมากที่สุดหลังจาก 1 วัน (37.03 เมกกะปาสคาล) แต่ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอจะมี ความทนแรงอัดมากที่สุดหลังจาก 21 วัน (449.69 เมกกะปาสคาล) และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ของตัวอย่างทั้งหมดในการทดสอบสภาพการละลายได้ที่ 1 วัน 7 วัน และ 21 วัน (p > 0.05) สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยทั้ง 2 บริษัทผสมกับบิสมัทออกไซด์ และไวท์ โปรรูทเอ็มทีเอมีส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายกัน