Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความสัมพันธ์ของทุนวัฒนธรรมกับทุนนิยม จาก กรณีศึกษาการประกวดนางสาวไทย (พ.ศ. 2477 – 2549) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ทุนดังกล่าวว่ามี ทิศทางสอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและกำหนดรูปแบบการรักษาทุนวัฒนธรรมให้คง อยู่ในโลกของเศรษฐกิจระบบทุนนิยมได้อย่างสมดุล โดยผู้วิจัยได้เลือกศึกษาจากการประกวดนางสาวไทย เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยเป็นการประกวดความงามที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 70 ปี ซึ่งจะทำให้ เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่มีผลต่อทุนวัฒนธรรมได้ โดยมุ่งวิเคราะห์จาก การประกวดนางสาวไทยยุคปัจจุบันว่าทุนวัฒนธรรมไทยที่ได้สั่งสมให้เกิดความขลังในการประกวดนางสาวไทย นั้น มีความสัมพันธ์อย่างไรกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกวดนางสาวไทย เพื่อศึกษาถึงรูปแบบ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในการประกวดนางสาวไทย และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นถึงความ เปลี่ยนแปลงของทุนวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประกวดนางสาวไทยว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ทุนอย่างชัดเจน จากการศึกษาได้ข้อค้นพบว่าการประกวดนางสาวไทยกับความสัมพันธ์ของทุนวัฒนธรรมกับทุนนอยม มีทั้ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้อง คือทั้ง 2 ทุนมีการเกื้อกูลต่อการเติบโตของทุน ในขณะเดียวกันก็เกิดความสัมพันธ์ ที่ขัดแย้งเพราะระบบทุนนิยมได้เข้ามากำหนดกรอบทุนนิยม (Capital Paradigm) ให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการ ประกวดนางสาวไทยทั้ง หมดคิดอยู่ภายใต้กรอบของทุนนิยมคือมุ่งแสวงกำไร และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจสูงสุด จนความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ทุนทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อความสัมพันธ์ของทุนวัฒนธรรมกับทุนนิยมของประเทศไทยจะสัมพันธ์อย่างสอดคล้องและยั่งยืน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกวดนางสาวไทยทั้ง หมดในฐานะที่เป็นผู้มีโอกาสแสวงหาและ ได้รัu3610 บความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจากทุนวัฒนธรรมไทย ควรมีจิตสำนึกและสร้างระเบียบอันดีในการเป็นหน่วยหนึ่งที่จะช่วยรักษาและเชิดชูวัฒนธรรมไทย เพื่อที่ในอนาคตทุนวัฒนธรรมไทยจะเป็นทุนหลักที่สร้างความแข็งแกร่ง ทั้ง ทางเศรษฐกิจ สังคมให้กับประเทศไทยและต่อสู้กับวัฒนธรรมสากลได้