DSpace Repository

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมเพื่อคำนวณค่าคาดหมายของความจุที่พึงได้ในโครงข่ายแกนกลางหลายชั้นที่มีความเสียหายแบบเฟ้นสุ่ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor เชาวน์ดิศ อัศวกุล
dc.contributor.author ปิยะนันท์ สัตยภิวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-22T15:12:11Z
dc.date.available 2017-06-22T15:12:11Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53093
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract ในการออกแบบระบบโครงข่ายให้มีความทนทานต่อความเสียหายสูง ผู้ออกแบบระบบจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการระบุจุดที่ต้องทำการปรับปรุงคุณภาพของระบบโครงข่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบระบบโครงข่ายให้มีคุณภาพสูง ทั้งนี้การวิเคราะห์ถึงรูปแบบความเสียหายที่เป็นไปได้ทั้งหมดควรจะถูกนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์ด้วย ในอดีตได้มีการใช้ทฤษฎีเกมเพื่อจำลองเกมการส่งข้อมูลระหว่างผู้เล่นเราเตอร์และผู้ทำลาย เพื่อทำการวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของระบบโครงข่ายบนพื้นฐานของการเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่สุด วิทยานิพนธ์นี้ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในการวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของระบบโครงข่ายหลายชั้นที่มีความเสียหายแบบเฟ้นสุ่ม ซึ่งมีหลายคู่โหนดความต้องการข้อมูล โดยนำเสนอวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของระบบโครงข่าย เมื่อระบบโครงข่ายเกิดความเสียหายจากการจ้องทำลายจากผู้ไม่ประสงค์ดีกับระบบ พร้อมทั้งนำเสนอดัชนีตัวชี้บอกใหม่ (expected achievable capacity, EAC) ซึ่งใช้ชี้วัดถึงความเชื่อถือได้ของระบบโครงข่าย เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ระดับความอ่อนไหวของอุปกรณ์ระบบโครงข่ายด้วยกระบวนการชี้บอกถึงข่ายเชื่อมโยงหรือโหนดที่สำคัญ และต้องทำการปรับปรุงคุณภาพก่อน นอกจากนั้นวิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอแบบจำลองสำหรับการคำนวณหาค่า EAC ในกรณีที่ระบบโครงข่ายมีความต้องการข้อมูลเพียงคู่โหนดเดียวและหลายคู่โหนดโดยใช้ระเบียบวิธี MSA และกำหนดการเชิงเส้น เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาขีดสูงสุดของขั้นต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาของเกมระบบโครงข่าย ระเบียบวิธีการวิเคราะห์หาข่ายเชื่อมโยงที่มีความสำคัญต่อระบบโครงข่ายที่นำเสนอ ได้ถูกนำมาใช้ทดสอบกับทั้งระบบโครงข่ายทดสอบสมมติและระบบโครงข่ายที่มีใช้งานจริงในทางปฏิบัติ ผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่า เราสามารถนำระเบียบวิธีการชี้วัดจุดที่ต้องทำการปรับปรุงก่อน และแบบจำลองการวิเคราะห์ความเชื่อถือได้ของระบบโครงข่าย มาใช้ช่วยในการออกแบบระบบโครงข่ายให้มีความคงทนต่อความเสียหายสูง กับระบบโครงข่ายที่มีการใช้งานทั่วไปได้จริง en_US
dc.description.abstractalternative To obtain a network with high fault tolerance, network engineers require an efficient method to identify and then upgrade vulnerable network components. Also, all possible characteristics of failure event must be captured in the analysis. A network game model between an intelligent router and attacker has been widely explored to overcome this challenge. Based on game theory framework, this thesis has proposed a new vulnerability identification method to measure network reliability of multicommodity stochastic network when the network is attacked by an intelligent adversary, who destroys network links or nodes to minimize capacity achieved between terminals. In addition, a new performance indicator (expected achievable capacity, EAC) has been proposed to help quantifying link or node vulnerability level. To obtain EAC, a maximin problem has been formulated and solved by the method of successive average and linear programming. Reported numerical results on various types of networks with multiple OD demands show that the effect of network vulnerability can be thoroughly analyzed by the proposed EAC and hence this suggests the usefulness of the proposed network vulnerability analysis framework. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.945
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ทฤษฎีเกม en_US
dc.subject ความเชื่อถือได้ (วิศวกรรมศาสตร์) en_US
dc.subject โครงข่าย -- ความเชื่อถือได้ en_US
dc.subject Game theory en_US
dc.subject Reliability (Engineering) en_US
dc.subject Networks -- Reliability en_US
dc.title การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมเพื่อคำนวณค่าคาดหมายของความจุที่พึงได้ในโครงข่ายแกนกลางหลายชั้นที่มีความเสียหายแบบเฟ้นสุ่ม en_US
dc.title.alternative Application of game theory for computation of expected achievable capacity in multi-layer core network with stochastic failure en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมไฟฟ้า en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor chaodit.a@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.945


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record