DSpace Repository

การประเมินสมรรถนะของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ภายหลังการได้รับเชื้อ Wolbachia จากเรือด (Cimax hemipterus)

Show simple item record

dc.contributor.advisor เผด็จ สิริยะเสถียร
dc.contributor.author วีรยุทธ กิตติชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-26T08:32:39Z
dc.date.available 2017-06-26T08:32:39Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53135
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract Wolbachia เป็นแบคทีเรียที่อยู่อาศัยร่วม (endosymbiosis) กับสัตว์ขาปล้องโดยเฉพาะมีความชุกสูงในประชากรแมลงทั่วโลก พบมากบริเวณเนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive tissues) ของสัตว์ขาปล้อง การแพร่เชื้อของแบคทีเรีย Wolbachia ผ่านระบบสืบพันธุ์ของแมลงจากแม่สู่ลูกจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อขบวนการสืบพันธุ์ของแมลงที่สำคัญคือ ความไม่เข้ากันของไซโตพลาสซึม เมื่อมีการผสมพันธุ์กันระหว่างตัวผู้ที่ติดเชื้อกับตัวเมียที่ปลอดเชื้อ ตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์จะมีพัฒนาการที่ผิดปกติ แต่ข้อดีของปรากฏการณ์ดังกล่าวช่วยให้ Wolbachia สามารถแพร่เชื้อเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสมรรถนะของยุงลายบ้าน Aedes aegypti ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Wolbachia สายพันธุ์ F จากเรือด (bed bug) โดยวิธี direct-microinjection วิธี Fluorescence in situ hybridizations (FISH) สามารถแสดงให้เห็นการติดเชื้อที่ รังไข่ ตัวอ่อน ระบบท่อและอัณฑะของยุงที่ติดเชื้อ การตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อแบคทีเรีย Wolbachia จากเรือดในยุงลายบ้านโดยวิธี Semi-nested PCR โดยปรากฏแถบขนาด 241 เบส บนวุ้นอะกาโรส นอกจากนี้จำนวนอสุจิของยุงเพศผู้เฉลี่ยระหว่างที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเท่ากับ 7,572.50 ± 441.88 และ 7,794.67 ± 759.90 มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนความยาวเส้นปีกหรือขนาดร่างกายของยุงเพศเมียที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้ออายุ 10 วันเท่ากับ 2.90 ± .01 มิลลิเมตร และ 2.82 ± .04 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในยุงเพศผู้ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้ออายุ 10 วัน พบว่ามีความยาวเส้นปีกเฉลี่ยเท่ากับ 2.12 ± .02 มิลลิเมตร และ 2.21 ± .02 มิลลิเมตร ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value เท่ากับ 0.000) อีกทั้งผลการเปรียบเทียบร้อยละของอัตราการฟักไข่ของยุงที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อยังมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value มากกว่า 0.05) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Wolbachia ไม่ชักนำให้เกิดความผิดปกติในยุงลาย ซึ่งใช้เป็นพาหนะนำพายีนต้านเชื้อก่อโรคในแมลงแทนที่พลาสมิดได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1983
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แบคทีเรีย en_US
dc.subject ยุงลาย en_US
dc.subject เรือด (สัตว์) en_US
dc.subject Bacteria en_US
dc.subject Aedes en_US
dc.subject Bed bugs en_US
dc.title การประเมินสมรรถนะของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ภายหลังการได้รับเชื้อ Wolbachia จากเรือด (Cimax hemipterus) en_US
dc.title.alternative Evaluation of Fitness Cost of Dengue Mosquito (Aedes aegypti) after Transinfected with Bed bug (Cimex hemipterus) Wolbachia en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1983


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record