DSpace Repository

ผลของการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่ออาการนอนไม่หลับ อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.advisor สัจจา ทาโต
dc.contributor.author ร่มรัตน์ หลีสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-26T09:51:32Z
dc.date.available 2017-06-26T09:51:32Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53142
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยที่เปรียบเทียบได้กับการวิจัยแบบทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน ต่ออาการนอนไม่หลับ อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง อยู่ในระยะที่มีค่าซีรัมครีเอตินินอยู่ในช่วง 3-5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และได้รับการบำบัดทดแทนไต (Rena Replacement Therapy: RRT) ด้วยวิธีการล้างไตทางหน้าท้องแบบถาวรหรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อายุระหว่าง 20-59 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกและหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 ราย และทำการจับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเรื่องของอายุ เพศ ระดับความเข้มข้นของเลือด ภาวะโภชนาการ และภาวะยูรีเมีย จากนั้นจับสลากเพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการให้ข้อมูลด้านสุขภาพและคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ Insomnia Severity Index ของ Morin (1993) แบบประเมินอาการเหนื่อยล้าของ Piper et al., (1998) และ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Zung (1965) ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิวิเคราะห์หาความเที่ยงของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 72,.94 และ .72 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับ อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคไตเรื้องรังในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน น้อยกว่าก่อนได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. อาการนอนไม่หลับ อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this comparative experimental research was to study the effect of providing health information combined with reflexology on insomnia, fatigue and depression in patients with chronic kidney disease. The sample consisted of 40 patients aged 20-59 years diagnosed with chronic kidney disease who had serum creatinine between 3-5 mg/dl and received Renal Replacement Therapy by hemodialysis or Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis at the hemodialysis unit, Surathani Hospital. Subjects were matched in pairs by age, gender, hematrocrit, nutrition, and uremic symptom. The subjects were randomly. The subjects were randomly assigned to experimental group or control group, 20 each. The experimental group received providing health information combined with reflexology, while the control group received conventional care. Research instruments were a heath teaching plan and a chronic kidney disease handbook for patients. They were tested for content validity by a panel of experts. Insomnia Severity Index (Morin, 1993), Fatigue Questionnaire (Piper et at., 1998), and Depression Questionnaire (Zung, 1965) were used to collect data. The questionnaire were tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficients at .72, .94 and .72, respectively. Descriptive statistics and t-test were used for data analysis. Major research findings were as follows: 1. The mean score of insomnia, fatigue, and depression in patients with chronic kidney disease after receiving health information combined with reflexology was significantly lower than those before participating in the study, at the. 01 level. 2. The mean score of insomnia, fatigue, and depression in patients with chronic kidney disease in the experimental group was significantly lower than that of the control group, at the. 01 level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.869
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความล้า en_US
dc.subject การกดจุด en_US
dc.subject ความซึมเศร้า en_US
dc.subject การนอนไม่หลับ en_US
dc.subject ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย en_US
dc.subject การบำบัดด้วยการนวด en_US
dc.subject Fatigue en_US
dc.subject Insomnia en_US
dc.subject Depression en_US
dc.subject Acupressure en_US
dc.subject Massage therapy en_US
dc.subject Chronic renal failure -- Patients en_US
dc.title ผลของการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนต่ออาการนอนไม่หลับ อาการเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง en_US
dc.title.alternative Effects of providing health information combined with reflexology on insomnia, fatigue, and depression in patients with chronic kidney disease en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chanokporn.J@Chula.ac.th
dc.email.advisor Sathja.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.869


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record