DSpace Repository

ธรณีวิทยาโครงสร้างของหินปูนยุคเพอร์เมียน บริเวณเขาถ้ำงูเหลือม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
dc.contributor.advisor สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล
dc.contributor.author ธนพ ศิริวัฒนานุรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.coverage.spatial นครราชสีมา
dc.date.accessioned 2017-09-09T09:51:29Z
dc.date.available 2017-09-09T09:51:29Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53261
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 en_US
dc.description.abstract หินปูนบริเวณจังหวัดสระบุรีและอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาถือได้ว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทย โดยหินปูนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของลานเขาขวาง (Khao Khwang Platform) ซึ่งมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาหลักเป็นรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก อันเป็นผลจากการชนกันของแผ่นอนุทวีปไซบูมาสุ (Sibumasu Plate) กับแผ่นอนุทวีปอินโดไซน่า (Indochina Plate) ในช่วงยุคไทรแอสซิกตอนต้น (Early Triassic) การศึกษานี้ได้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินปูนยุคเพอร์เมียน บริเวณเขาถ้ำงูเหลือม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลองวิวัฒนาการ แสดงกลไกและความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธรณีวิทยาในพื้นที่ลานเขาขวาง จากการศึกษาในภาคสนามพบหินปูน 2 ลักษณะ ได้แก่ หินปูนชั้นหนา 50 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร และหินปูนชั้นบาง 20 ถึง 50 เซนติเมตร ที่มีหินดินดานแทรกสลับ ในส่วนของโครงสร้างธรณีที่พบ ประกอบด้วย ชั้นหินคดโค้งปลายรอยเลื่อน (fault propagation fold) โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และพบรอยเลื่อนที่มีลักษณะการเลื่อนตัวทั้งในแนวระดับและในแนวดิ่ง อันเป็นผลมากจากแรงทางธรณีแปรสัณฐานที่เข้ามากระทำกับชั้นหินในช่วงเวลาของการก่อเทือกเขาอินโดไซเนียน (Indosinian Orogeny) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงยุคไทรแอสซิกตอนต้นถึงตอนปลาย นอกจากนี้รอยแตกที่พบยังสะท้อนให้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธรณีวิทยาตามทิศทางของแนวแรงที่เข้ามากระทำ ในส่วนของบรรพชีวินวิทยา พบซากดึกดำบรรพ์ ฟูซูลินิด แบรคิโอพอด ปะการัง และสาหร่าย ที่แสดงถึงสภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบทะเลน้ำตื้นบริเวณแนวปะการัง en_US
dc.description.abstractalternative Limestone in Saraburi-Pak Chong, Nakhon Ratchasima is an important law material for construction factory of Thailand. This area is a part of Khao Khwang Platform which have been deformed since the collision between Sibumasu Plate and Indochina Plate during Early Triassic. This study focuses on structural geology of the Permian limestone at Khao Tham Ngulueam in order to construct an evolutionary model presenting deformation history of Khao Khwang Platform. According to field study, two types of limestone have been classified base on their thickness; (1) thick limestone and (2) thin limestone interbeded with shale. Fault propagation fold found in the study area indicates tectonic transportation from southeast to northwest. In addition, there is a lot of fault that moved both vertical and horizontal by tectonic force which related to Indosinian Orogeny from Early Triassic to Late Triassic. Moreover, variation of fracture orientation suggests difference force direction. Fusulinid, Brachiopod, Coral and Algae indicate shallow marine environment. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject หินปูน -- ไทย -- นครราชสีมา en_US
dc.subject ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- นครราชสีมา en_US
dc.subject Limestone -- Thailand -- Nakhon Ratchasima en_US
dc.subject Geology, Structural -- Thailand -- Nakhon Ratchasima en_US
dc.title ธรณีวิทยาโครงสร้างของหินปูนยุคเพอร์เมียน บริเวณเขาถ้ำงูเหลือม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา en_US
dc.title.alternative Structural geology of Permian limestone at Khao Tham Ngulueam, Amphoe Pak Chong, Changwat Nakhon Ratchasima en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor thasineec@gmail.com
dc.email.advisor sukonmeth.j@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record