dc.contributor.advisor |
จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
พิชิตา บูรณ์เจริญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
นครราชสีมา |
|
dc.date.accessioned |
2017-09-17T05:24:29Z |
|
dc.date.available |
2017-09-17T05:24:29Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53305 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554 |
en_US |
dc.description.abstract |
พื้นที่ศึกษาตั้งอยู่บริเวณบ้านวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาซึ่งในพื้นที่มีการกระจายตัวของหินอัคนี หินตะกอน และหินแปรที่มีอายุตั้งแต่ช่วงเพอร์เมียนถึงควอเทอร์นารี ในการศึกษาครั้งนี้สนใจศึกษาเฉพาะหินแกรนิตที่โผล่ขึ้นมาในบริเวณนี้ จากการศึกษาลักษณะศิลาวรรณนา หินแกรนิตที่พบจัดให้เป็นกลุ่มหินมอนโซแกรนิตโดยใช้แผนภูมิ QAPFภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบประกอบด้วยแร่ควอตซ์ 22 – 35% แร่แพลจิโอเคลส 30 – 41% โพแทสเซียม-เฟลด์สปาร์ 30 - 37% ไบโอไทต์ต่ำกว่า4%และแร่ทึบแสง 1– 4% ลักษณะเนื้อหินที่สำคัญได้แก่ Intergranular ,inequigranular, poikilitic และ perthitic textures มีขนาดผลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีแร่ แร่โพแทสเซียม-เฟลดสปาร์ประกอบด้วย แคลเซียม 0 - 5% โซเดียม 0 - 9%และโพแทสเซียม 86 - 99% ส่วนแพลจิโอเคลสประกอบด้วยแคลเซียม 0.5 - 32% โซเดียม 65 - 97%และ โพแทสเซียม 1 - 3% โดยสัดส่วนของ K-Na-Ca พบว่า โพแทสเซียม-เฟลด์สปาร์ จัดอยู่ในกลุ่ม ออร์โทเคลส ส่วนแพลจิโอเคลสอยู่ในช่วงอัลไบต์ – แอนดีซีน (3 – 40%An) ไบโอไทต์ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นแร่ทึบแสงที่ประกอบด้วยเหล็ก แต่มีไบโอไทต์บางส่วนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งแสดงส่วนประกอบในช่วงแคบๆ ของ K0.04-0.1, Mg0.8-1 and Fe2+1.9 ส่วนข้อมูลธรณีเคมีของหินทั้งก้อนพบว่าประกอบด้วย 72 - 75 %SiO₂, 0 - 0.2 % TiO₂, 12.5 - 14% Al₂O₃, 0.20 - 1.2% Fe₂O₃, ≤ 0.05 % MnO, ≤1% MgO, ≤1% CaO, 3 - 4% Na₂O, 3 - 5 % K₂O, ≤0.05 % P₂O5 เมื่อแสดงด้วย แผนภูมิการเปลี่ยนแปลงของฮาร์เกอร์ พบว่าเมื่อ SiO₂เพิ่มขึ้น องค์ประกอบของ Al₂O₃, CaO, MgO, P₂O5, TiO₂, MnO, และ Fe₂O₃ มีแนวโน้มลดลง แต่ K₂O แนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าหินแกรนิตนี้น่าจะกำเนิดจากหินหนืดแกรนิตชนิด I-typeและเกิดในบริเวณธรณีแปรสัณฐานแบบแนวภูเขาไฟโค้งในมหาสมุทรและทวีปและการชนกันของแผ่นทวีป ในช่วงที่กำลังชนกัน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The study area is located in Ban Wang Mee, Amphoe Wang Nam Keaw,Changwat Nakhon Ratchasima in which is geologically occupied by sedimentary rocks, igneous rocks and metamorphic rocks ranging in age from Permian to Quaternary. Granitic rocks exposed in this area are the main focus of this study. Based on petrographic investigation, they are classified based on QAPF diagram as monzogranite. Under polarizing microscope, these rocks consist of 22 – 35%quartz, 30 – 41%plagioclase, 30 - 37%K–feldspar, <4%biotite and 1– 4%opaque. Intergranular, poikilitic ,inequigranular and perthitic textures are usually observed with an average grain size of about 0.3-0.5 cm. Based on mineral chemistry, K-feldspars contain 0 - 5% Ca, 0 - 9% Na and 86 - 99% K whereas plagioclases contain 0.5 - 32%Ca, 65 - 97%Na and 1 - 3%K. Atomic K-Na-Ca plots indicate K-feldspars as orthoclase composition whereas plagioclases are widely ranging from albite – andesine (3 – 40%An). Most biotites have been altered to opaque grain with iron rick composition; however, some fresh biotites show a narrow composition of K0.04-0.1, Mg0.8-1 and Fe2+1.9. Whole-rock geochemistry of these rocks ranges in narrow ranges of 72 - 75 %SiO₂, 0 - 0.2 % TiO₂, 12.5 - 14% Al₂O₃, 0.20 - 1.2% Fe₂O₃, ≤ 0.05 % MnO, ≤1% MgO, ≤1% CaO, 3 - 4% Na₂O, 3 - 5 % K₂O, ≤0.05 % P2O5. Harker variation diagrams demonstrate SiO2 increasing against decreasing of Al2O₃, CaO, MgO, P2O5, TiO₂, MnO, and Fe₂O₃ contents with increasing of K₂O. These evidences indicate I-type granitic magma which may have occurred in island arc, continental arc and continental collision during syn-collision. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ศิลาวิทยา -- ไทย -- นครราชสีมา |
en_US |
dc.subject |
ธรณีเคมี -- ไทย -- นครราชสีมา |
en_US |
dc.subject |
หินแกรนิต -- ไทย -- นครราชสีมา |
en_US |
dc.subject |
Petrology -- Thailand -- Nakhon Ratchasima |
en_US |
dc.subject |
Geochemistry -- Thailand -- Nakhon Ratchasima |
en_US |
dc.subject |
Granite -- Thailand -- Nakhon Ratchasima |
en_US |
dc.title |
ศิลาวรรณนาและธรณีเคมี ของหินแกรนิตบริเวณบ้านหนองไม้แดง ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา |
en_US |
dc.title.alternative |
Petrography and geochemistry of granite from Ban Nong Mai Daeng, Tambon Wang Mee, Amphoe Wang Nam Keaw, Changwat Nakhon Ratchasima |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
c.sutthirat@gmail.com |
|