Abstract:
แหล่งน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ใต้ผิวดินที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ซึ่งน้ำ บาดาลถูกนำขึ้นมา ใช้ตั้งแต่ภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมด้วย ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำบาดาลจึง เพิ่มสูงขึ้น ตามไปด้วย แต่ในพื้น ที่ใกล้ชายฝั่งทะเลน้ำ บาดาลมักประสบปัญหาการปนเปื้อนของน้ำเค็มใน ปริมาณสูงจนไม่สามารถนำขึ้นมาใช้งานได้ เนื่องจากน้ำทะเลมีค่าความดันทางชลศาสตร์ (Hydraulic pressure) สูงกว่าน้ำจืด จึงทำให้น้ำทะเลแพร่เข้าไปผสมกับน้ำบาดาลในชั้น หินอุ้มน้ำ (Aquifer) เป็นลักษณะ รูปลิ่ม เรียกบริเวณที่น้ำทะเลและน้ำบาดาลผสมกันว่า Transitional zone นอกจากนี้กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การสูบน้ำบาดาลในปริมาณมาก การสร้างคลองระบายน้ำ หรือคลองชลประทาน ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ น้ำทะเลแพร่เข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขอบเขตของการรุกล้ำ ของน้ำทะเล เข้าไปในชั้นน้ำตะกอน ทรายชายหาด (beach sand aquifer, Qbs) ด้วยเทคนิควัดความต้านทานไฟฟ้า (resistivity survey) แบบ ความต้านทานไฟฟ้าหยั่งลึก (vertical electrical sounding, VES) โดยพื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ที่ ตำบลชะอำ อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งพื้นที่ศึกษาอยู่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีคลองขุดสาหรับขนส่งสินค้าทางเรือ ลึก ประมาณ 10 เมตร กว้าง 45 เมตร ยาว 3.5 กิโลเมตร และคลองธรรมชาติ ลึกประมาณ 1-2 เมตร กว้าง 25 เมตร ทั้งสองคลองมีปากแม่น้ำไหลออกสู่ทะเล จากการศึกษาชั้นน้ำตะกอนทรายชายหาดที่มีความลึกตั้งแต่ 1-15 เมตร พบว่ามีมวลน้ำ เค็มขนาดใหญ่แพร่เข้าไปในชั้นน้ำตะกอนทรายชายหาดตั้งแต่หน้าหาดลึกเข้าไปใน แผ่นดินจนกระทั่งถึงจุดสำรวจแล้ว ซึ่งเกิดจากอิทธิพลการรุกล้ำของน้ำทะเลจากหน้าหาดเข้ามาในแผ่นดิน ทำ ให้บริเวณที่ทำการสำรวจไม่เห็นแนวรอยต่อระหว่างน้ำทะเลกับน้ำบาดาลอย่างที่คาดการณ์ไว้ สำหรับขอบเขต การรุกล้ำ ของน้ำทะเลจากปัจจัยของโครงสร้างทางชลศาสตร์ อันได้แก่ คลองขุดและคลองธรรมชาตินั้นไม่ สามารถบอกได้ เนื่องจากน้ำ ทะเลได้รุกล้ำ เข้ามาในชั้นทรายชายหาดเกินกว่าบริเวณที่ทาการสำรวจแล้ว ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเปรียบเทียบขอบเขตการรุกล้ำของน้ำทะเลจากอิทธิพลของคลองขุดและคลองธรรมชาติได้ ดังนั้นจึงบอกได้เพียงว่าในพื้นที่ศึกษาได้รับอิทธิพลการรุกล้ำของน้ำทะเลจากหน้าหาดเข้ามาในแผ่นดิน มากกว่าอิทธิพลจากโครงสร้างทางชลศาสตร์ จนเกิดการปนเปื้อนของน้ำทะเลทั่วทั้งชั้นน้ำแล้ว