Abstract:
จากปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ทำให้เกิดมีความต้องการในการใช้นํ้าเพิ่มสูงขึ้นจนมีปัญหาการขาดแคลนนํ้าไว้ใช้ในการอุปโภคและบริโภค จึงทำให้มีความต้องการที่จะมีการพัฒนาบ่อบาดาลเพื่อนำมาใช้เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนนํ้าในพื้นที่ งานวิจัยนี้มุ่งทำการสำรวจหาลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาของพื้นที่รอบโครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ด้วยการประยุกต์วิธีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าแบบความต้านทานไฟฟ้าหยั่งลึก(Vertical Electrical Sounding, VES) โดยการวางขั้วแบบ Wenner-Schlumberger array เพื่อศึกษาศักยภาพนํ้าบาดาล(Groundwater Potential)ในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีความลึกในการสำรวจ 100 เมตร ซึ่งหลังจากเก็บข้อมูลค่าความต้านทานไฟฟ้าผู้วิจัยได้ทำการสร้างภาพตัดขวางจากข้อมูลค่าความต้านทานไฟฟ้า และแบบจำลองเชิงมโนทัศน์ จากการเปรียบเทียบข้อมูลบ่อบาดาลของกรมทรัพยากรนํ้าบาดาล ได้ข้อสรุปว่าในพื้นที่ศึกษามีลักษณะทางธรณีวิทยาทั้งหมด 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น Top Soil, ชั้น Sand และ Fractured volcanic rock โดยชั้นที่เป็นชั้นนํ้าบาดาลของพื้นที่นี้มี 2 ชั้นได้แก่ชั้น Sand และ Fractured volcanic rock ซึ่งพบได้ที่ความลึกประมาณ 25 - 65 เมตรและ ที่ความลึกมากกว่า 65 เมตร โดยเฉลี่ยในพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นชั้นนํ้าที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นบ่อบาดาล