Abstract:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งพื้นที่ศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยทรายขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมในภาคตะวันตก ทว่าอย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาภัย แล้งอยู่เสมอโดยเฉพาะในฤดูแล้ง พื้นที่ศึกษาในครั้งนี้ครอบคลุมตำบลสามพระยา ไร่ใหม่พัฒนา และ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี และส่วนหนึ่งของตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ เพื่อสำรวจสภาพทางอุทกธรณีเคมีของชั้นน้ำ บาดาลต่างๆ ในพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีอยู่สามชั้นน้ำหลัก ประกอบด้วยชั้นน้ำตะกอนที่ราบลุ่มน้ำหลาก (Qfd) ชั้น น้ำ หินชั้นกึ่งหินแปรยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอรัส (PCms) และชั้นน้ำแกรนิต (Gr)โดยได้ทำการเก็บ ตัวอย่างน้ำมาเพื่อวิเคราะห์ทางเคมี 68 ตัวอย่าง พบว่าชนิดน้ำ หลักภายในสามชั้นน้ำ คือ ชั้นน้ำตะกอนที่ ราบลุ่มน้ำหลาก ชั้นน้ำหินชั้นกึ่งหินแปรยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอรัส และชั้นน้ำแกรนิตเป็นน้ำประเภท แคลเซียม-แมกนีเซียม-คลอไรด์ (Ca-Mg-Cl) ประเภทโซเดียม-คลอไรด์ (Na-Cl) และ แคลเซียม- แมกนีเซียม-คลอไรด์ (Ca-Mg-Cl) และประเภท โซเดียม-คลอไรด์ (Na-Cl) ตามลำดับ และจากการ เปรียบเทียบกับ Gibb’s Diagram พบว่าเคมีของน้ำบาดาลทั้งสามชั้นน้ำนั้น กว่า 90%เกิดจากการละลาย ของแร่ภายในวัสดุทางธรณีวิทยาหรือหินต้นกำเนิดของชั้นน้ำ สำหรับความสัมพันธ์กับทางอุทกธรณีวิทยา คาดว่าโซเดียมไอออนมาจากการผุพังของแร่แอลไบท์ในหินแกรนิต และแร่ดินในหินตะกอน แคลเซียมและ แมกนีเซียมไอออนคาดว่ามาจากแหล่งหินปูนบริเวณพื้นที่เพิ่มเติมน้ำ ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ศึกษา ในขณะที่คลอไรด์ที่สูงมาจากการที่น้ำบาดาลถูกกับเก็บมายาวนาน