Abstract:
หมวดหินเขาขาดตั้งอยู่ในแนวชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำเขาขวาง ทาง ตอนกลางของประเทศไทย เป็นแนวของชั้นหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างที่วางตัวในแนว ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกไซบูมาสุกับ แผ่นเปลือกโลกอินไชน่าในยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก การศึกษานี้จะมุ่งเน้นไปทำการศึกษา ลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาโครงสร้างของรอยแตกโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วย หินปูน ยุคเพอร์เมียน มีสภาพแวดล้อมแบบลานตะกอนคาร์บอเนต จากการสำรวจภาคสนามและ การวิเคราะห์ธรณีวิทยาโครงสร้างระดับจุลภาคพบว่ามีรอยแตกทั้งหมด 4 ระบบคือ รอยแตกที่ ขนานกับชั้นหิน รอยแตกบริเวณเขตพับการคดโค้ง รอยแตกในแนวระดับ วางตัวในแนว ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และรอยแตกในแนวดิ่ง วางตัวในแนวเหนือ-ใต้และ ตะวันออก-ตะวันตก โดยรอยแตกที่ขนานกับชั้นหินเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก รอยแตกบริเวณเขตพับ การคดโค้งเกิดขึ้นเป็นลำดับที่สอง รอยแตกในแนวดิ่งเกิดขึ้นเป็นลำดับที่สาม และรอยแตกในแนว ระดับเกิดขึ้นเป็นลำดับที่สี่ และระบบรอยแตกทั้ง 4 ระบบมีทิศทางการวางตัวที่สัมพันธ์กับรอย เลื่อนย้อนมุมต่ำและชั้นหินคดโค้ง จากลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างของรอยแตกและ วิวัฒนาการโครงสร้างระบบรอยแตกของหมวดหินเขาขาด บริเวณตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิม พระเกียรติ จังหวัดสระบุรีคาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดแนวชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อน ย้อนมุมต่ำเขาขวางในยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิกหรือการก่อเทือกเขาอินโดไชเนียน