DSpace Repository

การปรับปรุงการบริหารคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
dc.contributor.author ฤทัย บัวชุม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-01-16T03:51:25Z
dc.date.available 2008-01-16T03:51:25Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743470093
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5479
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมัน เพื่อลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมันนี้ และทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ โดยนำเอามาตรฐาน ISO/IEC Guide 25 ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบมาประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมัน ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่ 1 เริ่มต้นจากการศึกษาทำความเข้าใจข้อกำหนดต่างๆ ใน ISO/IEC Guide 25 ส่วนที่ 2 ทำการวิเคราะห์หาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความผิดพลาดของการทดสอบที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทดสอบ และทำการออกแบบระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบนี้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆ ส่วนที่ 3 คือ ดำเนินการทดลองและทบทวนระบบคุณภาพที่ได้ออกแบบไว้ ภายหลังจากการทดลองใช้งานระบบคุณภาพที่ออกแบบไว้ได้ทำการประเมินระบบคุณภาพนี้โดยคิดจากเปอร์เซ็นต์การทดสอบซ้ำ ซึ่งแสดงถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทดสอบ โดยทำการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การทดสอบซ้ำทั้งก่อนและหลังการออกแบบระบบคุณภาพ ผลสรุปคือ การออกแบบระบบคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC Guide 25 จะส่งผลให้ผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมันแห่งนี้มีความถูกต้องและแน่นอนมากขึ้น โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์การทดสอบซ้ำหลังการออกแบบระบบคุณภาพมีค่าลดลงเฉลี่ย 1.38 (หน้า 68) และเปรียบเทียบผลการทดสอบ laboratory correlation ระหว่างห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC Guide 25 ด้วยกัน พบว่าจากเดิมผลการทดสอบก่อนการออกแบบระบบคุณภาพเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะอยู่นอกช่วง +-SD เปลี่ยนมาอยู่ภายในช่วย +-SD en
dc.description.abstractalternative The objective of the project is to study problems and develop some quality system elements of oil laboratory. The benefits of the project will decrease errors in the laboratory and will perform a good operating system for satisfying customers. The project was divided into three operating phases. Firstly, ISO/IEC GUIDE 25 conditions were realized secondly, causes of the errors of testing were defined and designed for the appropriate quality system according to the ISO/IEC GUIDE 25. Thirdly, the proposed elements were implemented and reviewed. The evaluation of the follow up step was a comparison between percentage of retesting value before and after implementation. In summary, ISO/IEC GUIDE 25 is the improvement tool for quality system of oil laboratory for increasing accuracy and precision of testing. Finally, the percentage of retesting before an after implementation was improved average 1.36%. (In addition, the comparative results among the ISO/IEC GUIDE 25 laboratory has been improved into the toleranceof the standard deviation en
dc.format.extent 8291033 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การควบคุมคุณภาพ en
dc.subject ห้องปฏิบัติการ en
dc.subject ห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมัน en
dc.title การปรับปรุงการบริหารคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำมัน en
dc.title.alternative Improvement of quality management of an oil laboratory testing en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor damrong.t@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record