dc.contributor.advisor |
Veera Lertchirakarn |
|
dc.contributor.author |
Panuroot Aguilar |
|
dc.contributor.other |
Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:20:16Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:20:16Z |
|
dc.date.issued |
2016 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54849 |
|
dc.description |
Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016 |
|
dc.description.abstract |
Stem cells from apical papilla (SCAPs) were believed the source of regenerative endodontic procedure (REP) that is performed in infected immature tooth. However, the new hard tissues were reported to be bone or cementum-like structure. It was possible that root canal infection might alter SCAPs to generate bone or cementum-like structure rather than dentin. This might due to the effects of lipopolysaccharide (LPS) in infected root canal. In addition, the percentages of CD24 expressing SCAPs varied among the studies. CD24 involved many cellular activities such as cell proliferation, differentiation and self-renewal of stem cells. Therefore, CD24 might affect to REP, as well. In this thesis, the variation of CD24 expression was confirmed. To facilitate the investigation of amount of CD24, SCAPs were classified into two groups, High and Low-CD24. The mesenchymal stem cell markers and cell proliferation were not different between two groups. However, High-CD24 demonstrated lower self-renewal than Low-CD24 but higher multi-differentiation capacity than Low-CD24. High-CD24 associated with early root formation while Low-CD24 related to later stage of root formation. After exposure with 0.001-5µg/ml of LPS, cell proliferation and migration of all experimental groups were not different from their control groups of both High and Low-CD24. However, High-CD24 significantly increased mineralization activity when exposed to 1 and 5 µg/ml of LPS. Moreover, bone sialopreotein (BSP) gene expression that extensively expressed in bone and cementum, significantly increased when exposed to 1 and 5 µg/ml of LPS. Low-CD24 did not alter mineralization activity when compared with non-exposure LPS group. However, the BSP gene expression increased only when compared with 5 µg/ml exposure. Dentin sialophosphoprotein (DSPP) gene expression was not different between LPS pre-exposure and control group of both High and Low-CD24. The results from this study may explain why the bone or cementum-like structure was formed by SCAPs after performing REP. |
|
dc.description.abstractalternative |
มีความเชื่อว่าเซลล์ต้นกำเนิดปุ่มเนื้อปลายรากฟันเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ในการรักษาด้วยวิธีการคืนสภาพทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ อย่างไรก็ตามพบว่าเนื้อเยื่อแข็งที่สร้างใหม่ในการรักษาดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกระดูกหรือเคลือบรากฟัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการติดเชื้อภายในคลองรากฟันอาจมีผลต่อการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ดังกล่าวไปเป็นเซลล์ที่สร้างเนื้อเยื่อคล้ายกระดูกหรือเคลือบรากฟันแทน ลิโพพอลิแซ็กคาไรด์เป็นสารที่ออกมาจากจุลชีพภายในคลองรากฟันที่ติดเชื้อและสามารถแพร่ออกมาสู่เนื้อเยื่อรอบปลายรากได้ ดังนั้นลิโพพอลิแซ็กคาไรด์อาจมีผลในการปลี่ยนสภาพของเซลล์ดังกล่าว อนึ่ง ซีดี24 ซึ่งพบการแสดงออกบนเซลล์ดังกล่าวอาจมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมในทางชีววิทยาของเซลล์ต้นกำเนิด เช่น การเพิ่มจำนวนเซลล์ การจำลองตนเอง และการเปลี่ยนสภาพ เนื่องจากปริมาณร้อยละของซีดี24ที่แสดงออกมีช่วงห่างระหว่างการศึกษามาก ดังนั้น ซีดี24ก็อาจมีบทบาทในวิธีการคืนสภาพทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ด้วยได้นอกเหนือไปจากลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ การศึกษานี้ได้ยืนยันความแปรผันของจำนวนร้อยละของซีดี 24 ในเซลล์ต้นกำเนิดปุ่มปลายรากฟัน โดยได้แบ่งกลุ่มเซลล์ที่คัดแยกได้จากตัวอย่างออกเป็นกลุ่มที่มีการแสดงออกซีดี24สูงและต่ำ พบว่าทั้งกลุ่มที่มีการแสดงออกของซีดี24สูงและต่ำนั้นมีการแสดงออกของตัวบ่งชี้ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์และความสามารถในการเพิ่มจำนวนไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่มีการแสดงออกของซีดี24สูงมีคุณสมบัติการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ได้ดีกว่า ในทางตรงข้ามกลุ่มที่มีการแสดงออกของซีดี24ต่ำ กลับมีคุณสมบัติในการจำลองตนเองดีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าระดับการพัฒนาของรากฟันในช่วงต้นนั้นเซลล์มีการแสดงออกร้อยละของซีดี24สูงกว่าเซลล์ที่ได้มาจากตัวอย่างที่มีการพัฒนารากในช่วงปลาย คุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิดในการเพิ่มจำนวนเซลล์และการเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์สร้างเนื้อเยื่อแข็งมีความสำคัญในกระบวนการคืนสภาพทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ ซึ่งเซลล์เหล่านี้ภายหลังการเผยลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ความเข้มข้น 0.001 ถึง 5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ทั้งในกลุ่มที่มีการแสดงออกของซีดี24สูงและต่ำ แต่มีผลในการตกตะกอนของเนื้อเยื่อแข็งของกลุ่มที่มีการแสดงออกของซีดี24สูง โดยลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ 1 และ 5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีการตกตะกอนได้มากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ในกลุ่มของเซลล์ที่มีการแสดงออกของซีดี24สูงมีการแสดงออกของยีนโบนไซอะโลโปรตีนที่พบมากในกระดูกและเคลือบรากฟัน มีการแสดงออกมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ความเข้มข้น 1 และ 5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะเดียวกันลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ไม่มีผลต่อการตกตะกอนของกลุ่มที่มีการแสดงออกของซีดี24ต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่พบว่าลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีนโบนไซอะโลโปรตีนได้มากกว่ากลุ่มควบคุม การแสดงออกของเดนทีนไซอะโลฟอสโฟโปรตีนซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำหรับเนื้อฟันหรือเซลล์สร้างเนื้อฟันนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เผยต่อลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ทั้งเซลล์ที่มีการแสดงออกของซีดี24สูงและต่ำ ดังนั้นการศึกษานี้จึงใช้อธิบายผลการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและผู้ป่วยจริงที่พบว่าการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ด้วยวิธีการคืนสภาพทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ได้เนื้อเยื่อแข็งที่มีลักษณะคล้ายกระดูกหรือเคลือบรากฟัน |
|
dc.language.iso |
en |
|
dc.publisher |
Chulalongkorn University |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1740 |
|
dc.rights |
Chulalongkorn University |
|
dc.title |
EFFECT OF LIPOPOLYSACCHARIDE ON PROLIFERATION AND OSTEOGENIC DIFFERENTIATION OF STEM CELLS FROM APICAL PAPILLA WITH DIFFERENT AMOUNT OF CD24 EXPRESSING CELLS |
|
dc.title.alternative |
ผลของลิโพพอลิแซ็กคาไรด์ต่อการเพิ่มจำนวนและการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างกระดูกของเซลล์ต้นกำเนิดจากปุ่มเนื้อปลายรากฟันที่มีปริมาณการแสดงออกของซีดี 24 ที่แตกต่างกัน |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
Doctor of Philosophy |
|
dc.degree.level |
Doctoral Degree |
|
dc.degree.discipline |
Oral Biology |
|
dc.degree.grantor |
Chulalongkorn University |
|
dc.email.advisor |
Veera.L@Chula.ac.th,veera.l@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.1740 |
|