DSpace Repository

Preweaning piglet mortality and colostrum consumption associated with parity number, season, newborn traits and dietary L-arginine supplementation in gestating sows

Show simple item record

dc.contributor.advisor Padet Tummaruk
dc.contributor.author Morakot Nuntapaitoon
dc.contributor.other Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:20:31Z
dc.date.available 2017-10-30T04:20:31Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54877
dc.description Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
dc.description.abstract Piglet preweaning mortality is one of the major reproductive components that affects herd productivity in the swine industry. Knowledge of factors that influence piglet preweaning mortality are important to improve animal welfare, to reduce production loss and to increase profits in commercial herds. The present study aimed to investigate factor influencing piglet preweaning mortality in commercial swine herd in Thailand in relation to piglet, sow and environmental factors. Moreover, influencing factors on piglet colostrum consumption were also determined. Additionally, effect of dietary L-arginine supplementation in late gestating sow on sow and piglet performances were investigated. From retrospective studies, the data from a computerized data-base system of the herds were analysed resulting in known basic knowledge of piglet preweaning mortality in Thailand and were determined factors which related piglet mortality. On average, piglet preweaning mortality was 11.2% (median = 9.1%) and varied among herds from 4.8% to 19.2%. Piglet preweaning mortality in the litter with 13 – 15 littermate pigs (24.1%) was significantly higher than the litter with 1 – 7 (11.9%, P < 0.001), 8 – 10 (11.8%, P < 0.001) and 11 – 12 (14.6%, P < 0.001) littermate pigs. The litters with a low BWB had a higher piglet preweaning mortality rate (18.8%) than the litters with a medium (15.7%, P < 0.001) and a high BWB (12.1%, P < 0.001). In primiparous sows, preweaning mortality was increased from 12.1% to 18.5% (+6.4%) when the temperature during 0 – 7 days postpartum increased from < 25.0 ºC to ≥29 ºC (P < 0.001). Piglet preweaning mortality in large sized herds was higher than among small and medium sized herds (13.6%, 10.6% and 11.2%, respectively; P < 0.001). From cohort studies, newborn traits (i.e., heart rate, blood oxygen saturation, blood glucose concentration, rectal temperature at 24 h after birth (RT24h), birth order, sex, skin color, integrity of the umbilical cord, time from birth until first attempts to stand and birth intervention) measured soon after birth on piglet preweaning mortality and growth were measured. We found that high piglet preweaning mortality positively was found in piglet with high time from birth until first attempts to stand, pale skin color, piglet with RT24h below 37.0 ºC and piglets with colostrum consumption less than 400 g (P < 0.05). Piglet BWB, blood glucose concentration and the number of piglets born alive per litter (NBA) were correlated with average daily gain at 7 and 21 days of age (P < 0.05). Moreover, piglets with colostrum consumption less than 400 g and low BWB had reduced average daily weight gain (P < 0.001). Litters with less than 12 NBA, a low BWB piglet, birth order greater than nine or standing time greater than 5 min had lower colostrum consumption (P < 0.001) compared to those with a greater number NBA, higher BWB and shorter standing time. Dietary L-arginine HCl supplementation in sow diet during late gestation increased BWB, blood oxygen saturation, the proportion of NBA and the colostral concentration of immunoglobulin G at one h after onset of farrowing (P < 0.05). Moreover, L-arginine supplementation reduced stillborn and tended to increase the proportion of piglets with BWB above 1.35 kg and tended to reduce the relative backfat loss in sows. In conclusion, preweaning piglet mortality associated with sow parity number, climatic parameters, herd size, newborn traits and colostrum consumption. Dietary L-arginine supplementation in late gestating sows improved sow and piglet performances.
dc.description.abstractalternative การตายของลูกสุกรก่อนหย่านมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบการสืบพันธุ์ที่มีผลต่อผลผลิตในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมเป็นสิ่งที่สำคัญในการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ ลดการสูญเสียผลผลิตและเพิ่มผลกำไรในฟาร์มสุกร วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมในฟาร์มสุกรของประเทศไทยในปัจจัยด้านลูกสุกร แม่สุกร และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับร่วมไปด้วย นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาถึงผลของการเสริมแอล-อะจินีนในอาหารแม่สุกรอุ้มท้องระยะท้ายต่อประสิทธิภาพของแม่สุกรและลูกสุกร การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังได้ทำการนำข้อมูลที่จดบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ของฟาร์มมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของอัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมในประเทศไทยและทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมจากข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.2% (ค่ามัธยฐาน = 9.1%) และมีค่าระหว่าง 4.8% ถึง 19.2% จากแต่ละฟาร์ม ครอกที่มีจำนวนลูกสุกรที่เลี้ยงระหว่าง 13 – 15 ต่อครอก (24.1%) มีอัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมสูงกว่าครอกที่มีจำนวนลูกสุกรที่เลี้ยงระหว่าง 1 – 7 (11.9%, P < 0.001) 8 – 10 (11.8%, P < 0.001) และ 11 – 12 (14.6%, P < 0.001) ตัวต่อครอก ครอกที่มีลูกสุกรน้ำหนักแรกเกิดต่ำ (18.8%) มีอัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมสูงกว่าครอกที่มีลูกสุกรน้ำหนักแรกเกิดปานกลาง (15.7%, P < 0.001) และครอกที่มีลูกสุกรน้ำหนักแรกเกิดสูง (12.1%, P < 0.001) สุกรสาวมีอัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมเพิ่มขึ้นจาก 12.1% เป็น 18.5% (+6.4%) เมื่ออุณหภูมิโดยรอบระหว่าง 0 – 7 วันหลังคลอดเพิ่มขึ้นจาก < 25.0 องศาเซลเซียส เป็น ≥29 องศาเซลเซียส (P < 0.001) อัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมในฟาร์มขนาดใหญ่มีค่าสูงกว่าฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดกลาง (13.6%, 10.6% and 11.2% ตามลำดับ; P < 0.001) การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าได้ทำการศึกษาปัจจัยของคุณลักษณะของลูกแรกเกิด (ประกอบด้วย อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนในกระแสเลือด ความเข้มข้นของน้ำตาลในกระแสเลือด อุณหภูมิทางทวารหนักที่ 24 ชั่วโมงหลังเกิด ลำดับการเกิด เพศ สีผิว ลักษณะของสายสะดือ ระยะเวลาตั้งแต่เกิดจนสามารถยืนได้ และการช่วยให้เกิด) ที่ทำการประเมินทันทีหลังคลอดต่ออัตราการตายและอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุกรก่อนหย่านม ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมสูงขึ้นเมื่อระยะเวลาตั้งแต่เกิดจนสามารถยืนได้มีระยะเวลานาน สีผิวซีด อุณหภูมิทางทวารหนักที่ 24 ชั่วโมงหลังเกิดต่ำกว่า 37.0 องศาเซลเซียสและมีปริมาณน้ำนมเหลืองที่ได้รับต่ำกว่า 400 กรัม (P < 0.05) น้ำหนักแรกเกิดของลูกสุกร ความเข้มข้นของน้ำตาลในกระแสเลือดและจำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีชีวิตต่อครอกสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุกรที่ 7 และ 21 วัน (P < 0.05) นอกจากนี้ ลูกสุกรที่ได้รับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ต่ำกว่า 400 กรัมและมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำ (P < 0.001) ครอกที่มีจำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีชีวิตน้อยกว่า 12 ต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดต่ำ เกิดในลำดับที่มากกว่า 9 หรือมีระยะเวลาตั้งแต่เกิดจนสามารถยืนได้มากกว่า 5 นาที จะได้รับปริมาณน้ำนมเหลืองในระดับต่ำ (P < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับครอกที่มีจำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีชีวิตมากกว่า น้ำหนักแรกเกิดสูงกว่าและมีระยะเวลาตั้งแต่เกิดจนสามารถยืนได้สั้นกว่า การเสริมแอล-อาร์จินีนในอาหารแม่สุกรอุ้มท้องระยะท้ายสามารถเพิ่มน้ำหนักลูกสุกรแรกเกิด ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดของลูกสุกร สัดส่วนของจำนวนลูกสุกรแรกเกิดมีชีวิตต่อครอกและระดับความเข้มข้นของอิมมูโนกอบบูลิน จี ที่ 1 ชั่วโมงหลังคลอดในน้ำนมเหลือง (P < 0.05) อีกทั้งยังสามารถลดการตายของลูกสุกรแรกเกิดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสัดส่วนของลูกสุกรที่มีน้ำหนักแรกเกิด 1.35 กิโลกรัมและลดการสูญเสียไขมันสันหลังในแม่สุกรระหว่างเลี้ยงลูกอีกด้วย จากผลการศึกษาทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า อัตราการตายของลูกสุกรก่อนหย่านมมีความเกี่ยวข้องกับ ลำดับท้อง สภาวะภูมิอากาศ ขนาดฟาร์ม คุณลักษณะของลูกแรกเกิดและปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ การเสริมแอล-อาร์จินีนในอาหารแม่สุกรอุ้มท้องระยะท้ายสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแม่สุกรและลูกสุกรได้
dc.language.iso en
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1895
dc.rights Chulalongkorn University
dc.title Preweaning piglet mortality and colostrum consumption associated with parity number, season, newborn traits and dietary L-arginine supplementation in gestating sows
dc.title.alternative การตายก่อนหย่านมและปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับสัมพันธ์กับลำดับท้อง ฤดูกาล คุณลักษณะของลูกแรกเกิด และการเสริม แอล-อาร์จินีนในอาหารแม่สุกรอุ้มท้อง
dc.type Thesis
dc.degree.name Doctor of Philosophy
dc.degree.level Doctoral Degree
dc.degree.discipline Theriogenology
dc.degree.grantor Chulalongkorn University
dc.email.advisor Padet.T@Chula.ac.th,Padet.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1895


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record