DSpace Repository

วัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนุสรณ์ ลิ่มมณี
dc.contributor.author อธิคม สุวรรณประสิทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2008-01-16T04:36:44Z
dc.date.available 2008-01-16T04:36:44Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741714424
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5491
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในปีการศึกษา 2545 และศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวการต่างๆ ในกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองที่มีต่อลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกเหล่านี้ โดยมีสมมติฐานว่า ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกในปัจจุบันมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าอำนาจนิยม และลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกในปัจจุบันเป็นผลมาจากตัวการต่างๆ ในกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง ในการศึกษานี้ ได้ใช้นักเรียนนายร้อยทหารบกทั้งหมดที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 5 ซึ่งเป็นชั้นปีสูงสุดของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 143 นาย เป็นประชากรวิจัย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์และแนวความคิดทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ 5 ดังกล่าว ผลการศึกษาวิจัยพบว่านักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ 5 ที่ทำการศึกษา มีลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองดังกล่าวโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นผลมาจากตัวการต่างๆ ในกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง แต่น่าจะเกิดจากอิทธิพลของกระบวนการอบรมกล่อมเกลาและเรียนรู้ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเองเป็นหลัก en
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are to find out the political culture of the Thai army cadets who are going to finish their education from Chulachomklao Royal Military Academy in the academic year 2002 and to find out the association of the agents in the political socialization process with these Thai army cadets' political culture. It is hypothesized that the Thai army cadets have a higher degree of democratic political culture than authoritarian one, and their political culture is derived from the effects of the agents inthe political socialization process. The survey was made out of all the 143 cadets who are studying in the fifth year which is the last year of the military academy. The questionaires were used in the survey for collecting the data about the political attitudes, beliefs, values, ideologies and perceptions from the fifth year army cadets. The findings are that the fifth year army cadets have a fairly low degree of democratic political culture and there is no strong effect from most of the agents inthe political socialization process to the cadets' political culture. Their political culture is therefore likely influenced by the socialization process within the Chulachomklao Royal Military Academy. en
dc.format.extent 1434430 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject วัฒนธรรมทางการเมือง en
dc.subject นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า en
dc.title วัฒนธรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยทหารบกไทย en
dc.title.alternative The political culture of the Thai army cadets en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การปกครอง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record