Abstract:
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ เพื่อศึกษาวิธีการสร้างกรอบโครงความคิด และวิธีการระดมทรัพยากรของเครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรม วิธีการศึกษาศึกษาจากเอกสารชั้นต้น ชั้นรอง การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าการเคลื่อนไหวของจุฬาฯ เป็นความพยายามช่วงชิงนิยามความหมายของประชาธิปไตย กรอบโครงความคิดหลักที่เครือข่ายจุฬาฯ ช่วงแรกเป็นเรื่องเกี่ยวพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แต่กรอบโครงหลักได้พัฒนาไปสู่การขับไล่รัฐบาล กรอบโครงในช่วงการขับไล่รัฐบาลนั้นพบว่าไม่เป็นตามหลักการประชาธิปไตย กรอบโครงที่ใช้ยังสะท้อนมุมมองชนชั้นกลางต่อชาวชนบทที่มองว่าปัญหาของประเทศมาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งการซื้อสิทธิขายเสียงทั้งนี้กรอบโครงความคิดยังสอดคล้องกับกรอบโครงความคิดของ กปปส. ข้อค้นพบเรื่องการระดมทรัพยากร เครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมกลับมาอีกครั้งในเหตุการณ์ทางการเมืองปี 2556 การกลับมาครั้งนี้โครงสร้างของเครือข่ายได้ขยายมากขึ้นประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ไม่เปิดเผยตัวตน กลุ่มผู้ออกหน้า กลุ่มสมาคมศิษย์เก่า ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน บุคลากร ทั้งนี้มีกลุ่มย่อยที่เป็นพันธมิตรในการเคลื่อนไหวมาจากหน่วยงานต่างในจุฬาฯ เข้าร่วมจากเหตุการณ์ปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ ช่องทางในการระดมทรัพยากรผ่านการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เครือข่ายความสัมพันธ์ของศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันของ จุฬาฯ