DSpace Repository

การบำบัดด้วยแสงจ้าเพื่อป้องกันภาวะสับสนในผู้ป่วยไอซียูศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
dc.contributor.advisor ธวัชชัย เตชัสอนันต์
dc.contributor.author ศิริมาศ โพธาราเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:33:49Z
dc.date.available 2017-10-30T04:33:49Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55263
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ Randomized Control Study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดด้วยแสงจ้าในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาแผนกไอซียูศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยในการลดการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันและต่อปัญหาการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย จำนวน 61 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน APACHE II Score แบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต (CAM-ICU) และแบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (ISI) กลุ่มทดลองได้รับ Bright Light Therapy ที่มีความสว่าง 5,000 ลักซ์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมงในเวลา 09.00-11.00น. ติดต่อกัน 3 วันภายหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมภายใน 24 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลเช่นเดียวกับกลุ่มทดลองและได้รับแสงที่มีความสว่าง 500 ลักซ์ (แสงสว่างภายในหอผู้ป่วย) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา ANOVA Chi-square และวิเคราะห์ผลของ BLT ต่อการนอน ด้วย Generalized Estimating Equation (GEE) ผลการศึกษาพบว่าการบำบัดด้วยแสงจ้ามีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.27 เท่า (95%CI = 0.07-0.98 , p = 0.047) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับแสงจ้า ระดับ Hematocrit มีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.87 เท่า (95%CI = 0.78-0.97 , p = 0.014) ค่าคะแนน APACHE II score มีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.08 เท่า (95%CI = 1.05-1.25 , p < 0.001) ค่าคะแนน Insomnia Severity Index มีผลทำให้การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.13 เท่า (95%CI = 1.02-1.26 , p = 0.021) และทำให้คะแนนการนอนไม่หลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.79 เท่า (95%CI = 0.64-0.98 , p = 0.034) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับแสงจ้า และพบว่าจำนวนวันที่ได้รับแสงจ้ามีผลทำให้คะแนนการนอนไม่หลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.81 เท่า (95%CI = 0.67-0.97 , p = 0.029) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับแสงจ้า
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the effect of bright light therapy on delirium and sleep in critically ill surgical patients. This study was a randomized control study. The samples comprised of 61 patients from surgical ICU who were randomizedly recruited during September 2016 to February 2017. The instruments were consist of a questionnaire about general information, APACHE II Score, the Confusion Assessment Method-Intensive Care Unit (CAM-ICU) and the Insomnia Severity Index (ISI). The intervention group was treated with bright light therapy (BLT) of 5,000 lux for 2 hours from 09.00-11.00 am for 3 consecutive days, which started within 24 hours after SICU admission. The control group was treated with care as usual and was exposed to a light source of 500 lux (office light source). The data were analyzed by SPSS software version 22 for descriptive statistics, ANOVA, Chi-square test and Generalized Estimating Equation (GEE) was performed to determine the effect of the BLT on delirium and sleep. The result showed a significant association between bright light therapy, delirium and Insomnia Severity Index. BLT can significantly decreased delirium of the treatment group when compared to the control group (p-value = 0.047 , OR = 0.27 ; 95%CI = 0.07-0.98). We found that hematocrit was significantly decreased delirium (p-value = 0.014 , OR=0.87 ; 95%CI=0.78-0.97). APACHE II score was significantly increased delirium (p-value < 0.001 , OR = 1.08 ; 95%CI = 1.05-1.25). Insomnia Severity Index was significantly increased delirium (p-value = 0.021 , OR = 1.13 ; 95%CI = 1.02-1.26). And the BLT can significantly decreased ISI score of the treatment group when compared to the control group (p-value = 0.034 , OR = 0.79 ; 95%CI = 0.64-0.98). And we found that the duration (day) of BLT was significantly decreased the ISI score (p-value = 0.029 , OR = 0.81 ; 95%CI = 0.67-0.97).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1197
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การบำบัดด้วยแสงจ้าเพื่อป้องกันภาวะสับสนในผู้ป่วยไอซียูศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
dc.title.alternative Bright Light Therapy for prevention of delirium in patients at Surgical Intensive Care Unit in King Chulalongkorn Memorial Hospital.
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สุขภาพจิต
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Sookjaroen.T@Chula.ac.th,sookjaroen@gmail.com
dc.email.advisor Thavatchai.T@Chula.ac.th,tayjasanant@yahoo.ca
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1197


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record