dc.contributor.advisor |
พรรณระพี สุทธิวรรณ |
|
dc.contributor.author |
ณัฏฐณี สุขปรีดี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:34:19Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:34:19Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55271 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสังเกตพฤติกรรมการเล่นระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (3-5ปี) ในบริบทของสังคมไทย ที่มีความสะดวกในการใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการเล่นที่มีคุณภาพระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนได้ ผู้วิจัยพัฒนาแบบสังเกตจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และแบบวัดมาตรฐานที่มีความเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่และเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุ 3-5 ปี) จำนวน 95 คู่ ผลการวิจัยพบว่าแบบสังเกตนี้มีค่าความสอดคล้องภายใน (KR20) เท่ากับ .81 ผลการประเมินร่วมโดยผู้ประเมินอิสระมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Cohen's kappa coefficient) ของแต่ละข้ออยู่ในระดับดีถึงดีมาก (kappa = .83 ถึง 1.00) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าแบบสังเกตนี้มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ทางบวกของผู้ปกครอง การแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ทางบวกของเด็ก การมีส่วนร่วมในการเล่นการยอมรับซึ่งกันและกัน การส่งเสริมพัฒนาการทางปัญญา และ การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม สามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อกระทงในแบบสังเกตได้ร้อยละ 51.65 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมในแบบสังเกตนี้กับคะแนนจากข้อกระทงบางส่วนในแบบวัด ECHOME (Caldwell & Bradley, 1984) พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (r = .71, p < .01) สนับสนุนความตรงจากความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ในการเล่นระหว่างผู้ปกครองและเด็ก |
|
dc.description.abstractalternative |
The goal of this study was to develop a new behavioral observation measurement of playing interaction of Parent and child in preschool age (3-5 years of age). THE PARENT-CHILD PLAY INTERACTION MEASUREMENT (3-5 YEARS OLD) was designed to be developmentally appropriate for preschooler.It was brief and easy to use after training for 2 days.The measure was also reliable and suitable for clinical and research use. This measurement was developed based on the existing literature on developmental psychology and positive parenting and measurements related to the topic. The content validity was validated by 3 experts, using data fro, 95 mothers playing with their children with a standard set of toys. Results indicated that the instrument was reliable and valid. The Kuder – Richardson coefficient was .81 with good to excellent inter-rater reliability between independent coders (kappa = .83 to 1.00). Exploratory Factor Analysis of the coded behaviors resulted in a six-component model (i.e. Parent Positive Affect, Child Positive Affect, Mutuality, Acceptance, Cognitive Stimulation, and Social – Emotional Stimulation). All six factors could explain 51.65 % of the total variance of the final 26 items in the instrument. Criterion-Related Validity of this instrument, as associated with total scores of the 13 items-ECHOME inventory (Caldwell & Bradley, 1984), was highly acceptable (r = .71, p < .01). |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.306 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ผู้ปกครองกับเด็ก |
|
dc.subject |
การเล่น |
|
dc.subject |
Parent and child |
|
dc.subject |
Play |
|
dc.title |
การพัฒนาแบบสังเกตพฤติกรรมการเล่นระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (3-5 ปี) |
|
dc.title.alternative |
THE DEVELOPMENT OF THE PARENT-CHILD PLAY INTERACTION MEASUREMENT (3-5 YEARS OLD) |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Panrapee.S@Chula.ac.th,cpanrapee@yahoo.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.306 |
|