dc.contributor.advisor |
กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ |
|
dc.contributor.author |
ดวงพร กิตติสุนทร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:36:13Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:36:13Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55389 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความสามารถในการฟื้นพลังและความสามารถในการกำกับอารมณ์ในเด็กในวัยเด็กตอนกลาง โดยมีลักษณะเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 47 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 24 คน และกลุ่มทดลอง 23 คน โดยกลุ่มทดลองนี้เข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความสามารถในการฟื้นพลังและความสามารถในการกำกับอารมณ์กลุ่มละ 7-8 คน ดำเนินการกลุ่มรายสัปดาห์ 8 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง คิดเป็นการเข้ากลุ่มรวม 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ มาตรวัดความสามารถในการฟื้นพลัง และมาตรวัดความสามารถในการกำกับอารมณ์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามสองทางแบบผสานวิธี (Two-way Mixed-design MANOVA) พบว่า 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการฟื้นพลัง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการฟื้นพลัง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์ตนเอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to examine the effect of Cognitive Behavior Group Therapy on resilience and emotion regulation in middle childhood. The research design was quasi-experimental with pretest-posttest control group design. Participants were 47 children aged 10-12. Participants were assigned into control (N = 23) and experimental (N = 24) groups. Those in the experimental group attended the Cognitive Behavioral Group Therapy for enhancing resilience and emotion regulation, with seven-to-eight participants in each group. The group was conducted weekly, for two hours each, amounting to sixteen-hour group participation. Instruments administered were State Resilience Scale and Emotion Regulation Questionnaire. Two-way Mixed-design Multivariate Analysis of Variance was used for data analysis. Findings revealed: 1. At post-test, the experimental group obtained significantly higher score on resilience than at pre-test. 2. At post-test, the experimental group obtained significantly higher score on emotion regulation than at pre-test. 3. At post-test, the experimental group obtained significantly higher score on resilience than the control group. 4. At post-test, the experimental group obtained significantly higher score on emotion regulation than the control group. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.305 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
จิตวิทยาวัยรุ่น |
|
dc.subject |
ความสามารถในการฟื้นพลังในวัยรุ่น |
|
dc.subject |
การควบคุมตนเองในวัยรุ่น |
|
dc.subject |
การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา |
|
dc.subject |
Adolescent psychology |
|
dc.subject |
Resilience (Personality trait) in adolescence |
|
dc.subject |
Self-control in adolescence |
|
dc.subject |
Psychological consultation |
|
dc.title |
ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความสามารถในการฟื้นพลังและความสามารถในการกำกับอารมณ์ในวัยเด็กตอนกลาง |
|
dc.title.alternative |
EFFECT OF COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY GROUP COUNSELING ON RESILIENCE AND EMOTION REGULATION IN MIDDLE CHILDHOOD |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Kullaya.D@Chula.ac.th,kullaya@gmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.305 |
|