DSpace Repository

อิทธิพลของภาษาต่อประสิทธิผลการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
dc.contributor.author นราธร มั่นสุวรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:36:40Z
dc.date.available 2017-10-30T04:36:40Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55420
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จากเอกสารแถลงผลการประชุมในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาถึงความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาการสื่อสารในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเทียบกับกรณีของธนาคารกลางในต่างประเทศ และวิเคราะห์ความแตกต่างของประสิทธิผลของการสื่อสารของ ธปท. ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการวัดทิศทางและศึกษาผลกระทบของการสื่อสารผ่านกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินในช่องทางผลตอบแทนตราสารหนี้ โดยงานศึกษานี้ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางด้านภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์และแบบจำลอง Structural Vector Autoregression (SVAR) ผลการศึกษาพบว่าความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงจากในอดีต แต่ยังสูงกว่าธนาคารกลางประเทศสวีเดน และประเทศนอร์เวย์ นอกจากนี้ ผลการศึกษาประสิทธิผลการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษาต่อประสิทธิผลการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยพบว่าการสื่อสารด้วยภาษาไทยในหัวข้อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีผลต่ออัตราผลตอบแทนตราสารหนี้มากกว่าการสื่อสารภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ ผลการศึกษายังพบว่าการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายการเงินได้จากการส่งผ่านผลของนโยบายการเงินไปยังผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาว
dc.description.abstractalternative This thesis attempts to investigate communication through both Thai and English versions of the Bank of Thailand (BOT)’s press release to measure the communication discrepancy between languages comparing with other central banks and analyze impacts of languages on the communication effectiveness. Besides, this study applies the sentiment analysis and the market interest rate channel of the monetary transmission mechanism to analyze impacts of languages on central bank communication. Furthermore, the methodology is due to computational linguistic techniques and the Structural Vector Autoregression (SVAR). Results of the study indicate to lower communication discrepancy of the BOT than that in the past but higher comparing with the Riksbank and the Norges bank. In the context of the BOT’s communication, the result reveals that Thai communication about the economic growth creates a greater impact on market interest rates in terms of both amplification and persistence comparing with the English communication. In addition, results state that the BOT’s communication is able to enhance the effectiveness of monetary policy by influencing the long term market interest rate.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.107
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title อิทธิพลของภาษาต่อประสิทธิผลการสื่อสารของธนาคารแห่งประเทศไทย
dc.title.alternative Influence of Language on Monetary Policy Effectiveness in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Pongsak.L@Chula.ac.th,pluangaram@gmail.com,Pongsak.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.107


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record