Abstract:
ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้รับ ฝุ่นละอองที่ลอยในอากาศ หรือ ละอองลอย โดยละอองลอยของหินปูนหรือหินอ่อนที่มีขนาดอนุภาคเล็ก กว่าสิบไมโครเมตรหรือPM10 เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง ดังนั้น โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ จึงประเมินคุณภาพอากาศ ณ บริเวณศึกษา (บริเวณหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี) โดยเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของ National Ambient Air Quality Standards (NAAQS) ซึ่งเป็น มาตรฐานคุณภาพอากาศที่เป็นที่ยอมรับขององค์กรสิ่งแวดล้อมทั่วโลก จัดตั้งโดยประเทศสหรัฐอเมริกา มี วัตถุประสงค์เพื่อดูแลสุขภาพของมนุษย์อันเนื่องมากจากมลภาวะทางอากาศ โดยการที่จะประเมินอากาศ บริเวณนั้นๆ ว่ามีคุณภาพดีเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือไม่ จากข้อมูล PM10 รายชั่วโมงจากสถานีหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ของกรมควบคุมมลพิษ ระหว่างปี พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ.2551 ได้ถูกนำมาหาปริมาณPM10รายวัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบค่า มารตรฐาน NAAQS พบว่า ในปี พ.ศ.2547 มีจำนวนเปอร์เซ็นวันที่เกินค่ามาตรฐาน 14.75% ในปี พ.ศ. 2548 มีจำนวนเปอร์เซ็นวันที่เกินค่ามาตรฐาน 14.79% ในปี พ.ศ.2549 มีจำนวนเปอร์เซ็นวันที่เกินค่า มาตรฐาน 32.23% ในปี พ.ศ.2550 มีจำนวนเปอร์เซ็นวันที่เกินค่ามาตรฐาน 8.76% และในปี พ.ศ.2551 มี จำนวนเปอร์เซ็นวันที่เกินค่ามาตรฐาน 6.84% โดยการกระจายของละอองลอยในแต่ละวันตลอดระยะเวลาที่ศึกษา พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของความ เข้มข้นของละอองลอยในช่วงกลางคืน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากบรรยากาศมีเสถียรภาพ ทำให้ปริมาณของ ละอองลอยมีความเข้มข้นมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนก็ส่งผลต่อการฟุ้งกระจายของละอองลอย โดยในช่วงที่เป็น ฤดูแล้ง หรือในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ จะมีการฟุ้งกระจายของละอองลอยได้มากกว่า ฤดูฝน