DSpace Repository

กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย : ศึกษาสินค้าเลือด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.author วราวัลย์ หวังสะดวก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-11-27T08:58:41Z
dc.date.available 2017-11-27T08:58:41Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56229
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
dc.description.abstract สังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย ถือเป็น “สินค้า” ที่ต้องตกอยู่ภายใต้ความรับผิดโดยเคร่งครัดของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เว้นแต่ ผลิตผลเกษตรกรรมของเกษตรกรที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย และได้ผ่านกระบวนการบางอย่าง ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เช่น สี ขัด ร่อน ปอก เป็นต้น จะได้รับการยกเว้นให้ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ ในประเทศไทย เลือดของมนุษย์ เป็นสังหาริมทรัพย์ที่สภากาชาดหรือโรงพยาบาล นำมาคัดเลือก, ผสม, แบ่งบรรจุ และแช่แข็ง หรือเรียกได้ว่านำมาผลิตเป็น “สินค้าเลือด” และจำหน่ายให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้รักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลจะนำสินค้าเลือดซึ่งได้รับจากผู้ผลิตดังกล่าวไปขายให้แก่ผู้ป่วยต่อไป ซึ่งการจำหน่ายหรืขายตามที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ผู้ขายหรือจำหน่ายจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินทั้งสิ้น ดังนั้น “สินค้าเลือด” จึงเป็น “สินค้า” ที่ต้องตกอยู่ภายใต้ความรับผิดโดยเคร่งครัดของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 การใช้บังคับกฎหมายข้างต้นต่อผู้ประกอบการสินค้าเลือด ส่งผลให้สภากาชาดหรือโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเลือด ต้องรับผิดอย่างเคร่งครัดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าเลือดที่ไม่ปลอดภัย อันเป็นภาระความรับผิดที่หนักเกินไปสำหรับผู้ผลิตสินค้าเลือด จนอาจเรียกได้ว่าไม่เป็นธรรม กล่าวคือ ในปัจจุบัน สินค้าเลือดทุกยูนิตมีความเสี่ยงเล็กน้อยที่อาจมีเชื้อโรคปะปนอยู่ในเลือด เนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้าเลือดยังขาดความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะทำให้สินค้าเลือดมีความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ได้ แม้กระนั้น สภากาชาดหรือโรงพยาบาลยังคงต้องดำเนินการผลิตสินค้าเลือดเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยต่อไป เพราะประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับจากสินค้าเลือดมีมาก จนความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยย่อมไม่อาจนำมาใช้ปฏิเสธความจำเป็นในการรักษาพยาบาลได้ ด้วยเหตุนี้ ความเสียหายอันเกิดจากสินค้าเลือดไม่ปลอดภัยย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยด้านการผลิต ซึ่งผู้ผลิตไม่สมควรต้องรับผิด การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าเลือดต้องรับผิดในทุกกรณี จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าเลือดเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาถึงเหตุผล ความจำเป็นของประเทศต่างๆในการกำหนด หรือไม่กำหนดให้ “สินค้าเลือด” อยู่ภายใต้ความรับผิดโดยเคร่งครัดของกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย อันได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกา และนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบกับเจตนารมณ์ในการบัญญัติกฎหมาย และสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคสินค้าเลือดในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณากำหนดนิยามของ “สินค้า” ในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ให้เหมาะสมเป็นธรรมต่อผู้ผลิตสินค้าเลือด พร้อมกับหาแนวทางคุ้มครองผู้บริโภคสินค้าเลือดที่ไม่ปลอดภัยให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายอย่างเพียงพอและเหมาะสม
dc.description.abstractalternative Movables, produced or imported for sale, is a "product" that is under the strict liability of The Product Liability Act B.E.2551, except agricultural items produced by farmers originating in Thailand and through some processes, as defined in the regulations, i.e. husk, polish, sift, peel, etc are excluded. In Thailand, human blood is movables from which the Thai Red Cross Society or hospitals screen, blend, package, and freeze; or in other terms, produce into “blood product,” in order to sell to hospitals nationwide. The blood product is then sold to patients in need of medical treatment, in exchange for money. Thus “blood product” is also “product” under the strict liability of The Product Liability Act B.E.2551. This issue has imposed huge burdens on the Thai Red Cross Society or hospitals nationwide which sell blood product to bear the strict liability for damages caused by unsafe blood product. From certain aspect, such burden is considered unfair to the blood manufacturers, whether the Thai Red Cross Society or the hospitals, as they have avoidable and constant necessity to produce "blood product" to be used to treat patients, however, there are no procedures to guarantee the safety of "blood product" making process. Therefore, the author conducted this study to explore the underlying reasons and necessity for the enactment of such Act in other countries, namely England, France, Japan, and the United States of America, to determine whether or not Thailand should enact "blood product" under the strict liability of The Product Liability Act. The data collected from those countries was used in a comparative analysis to learn the similarities and differences of the intention of the legislations among Thailand and those countries and also to explore the current situation of the damages caused by unsafe blood product in Thailand, in order to be primarily used to appropriately and fairly determine the definition of "goods" in The Product Liability Act B.E.2551 for the blood product manufacturers, and also to adequately and appropriately serve as guidelines for consumer protection from damages caused by unsafe blood product.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย : ศึกษาสินค้าเลือด
dc.title.alternative THE PRODUCT LIABILITY ACT : A CASE STUDY OF BLOOD PRODUCT
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Sakda.T@Chula.ac.th,tsakda@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record