DSpace Repository

รูปแบบมาตรฐานพื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิไล อัศวเดชศักดิ์
dc.contributor.advisor ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
dc.contributor.author สุมน คูสุวรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-01-28T09:46:18Z
dc.date.available 2008-01-28T09:46:18Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741310617
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5626
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract ศึกษาข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน ในการออกแบบพื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ออกแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือผู้ที่จะสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการนำไปใช้หรือเป็นตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบ เพื่อหารูปแบบมาตรฐานพื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครั้งนี้ได้แก่ นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีแนวโน้มที่จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากเกณฑ์ดังกล่าว นำมาสร้างเกณฑ์การวัดค่าระดับของความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่างต่อแบบสอบถามที่สะท้อนค่าของตัวแปรในแต่ละข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของตัวแปรต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์ในการยอมรับที่ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.41 ขึ้นไป จากการรวบรวมข้อมูลเฉลี่ยของกลุ่มตัวแปรทั้ง 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวแปร A (การใช้งาน) กลุ่มตัวแปร B (ภาพ) กลุ่มตัวแปร C (ตัวอักษร) กลุ่มตัวแปร D (การใช้ภาษา) กลุ่มตัวแปร E (เสียงบรรยาย) กลุ่มตัวแปร F (เสียงประกอบ) และกลุ่มตัวแปร G (สัญรูป) ผลการวิจัยปรากฏว่ากลุ่มตัวแปรทุกตัวมีค่าเฉลี่ยของตัวเลข อยู่ในระดับสูง หมายความว่า รูปแบบมาตรฐานพื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลทำให้ผู้ใช้เกิดความต้องการ และสนใจที่จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อีกทั้งอำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ง่ายขึ้นอีกด้วย en
dc.description.abstractalternative To study the details and theory relative to the design of computer interface in order to generate the standard for Chulalongkorn University's computer aided instruction interface design and to provide guidelines for those who wish to design or create text books for computer aided instruction. Sample group selected in order to obtain the standard of computer aided instruction was Chulalongkorn University's Fine Arts students in Creative Arts Department possessing tendency to use computer aided instruction. Sample size of 30. Data colletion tool adopted was a questionnaire-rating scale from 1 to 5 whereby the feedback from the sample group will reflect the value of each variable under each question. Statistical method used in analyzing the data was by calculating mean (X) and standard deviation (S.D.) of each variable and each variable with mean of above 3.41 would be adopted. After having gathered the valid data of 7 groups of variables namely variable A (Usage) variable B (graphics) variable C (text) variable D (terminology) variable E (narration) variable F (sound) variable G (icon) the results appeared that the mean of all variables were of a higher level meaning the standard interface design for Chulalongkorn University's computer aided instruction does play a role in triggering the needs and interests of users as well as providing convenience and ease of use. en
dc.format.extent 12182537 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน en
dc.title รูปแบบมาตรฐานพื้นผิวหน้าจอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title.alternative The standard of interface design for computer aided instruction of Chulalongkorn University en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นฤมิตศิลป์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Wilai.A@chula.ac.th
dc.email.advisor Suppakorn.D@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [866]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record