Abstract:
Tumor necrosis factor alpha หรือ TNF-α เป็นไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่มีความสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพในภาวะปกติ และเมื่อเกิดพยาธิสภาพภายในเซลล์ การสังเคราะห์ใหม่ของ TNF-α จะถูกนำเสนออยู่บนพลาสมาเมมเบรน และถูกตัดย่อยแล้วหลั่งโปรตีน TNF-α ออกมาในรูปแบบของสารละลาย ทั้งสองรูปแบบ มีหน้าที่การทำงานทางชีวภาพภายในเซลล์ TNF-α ที่ถูกหลั่งออกมาในรูปแบบของสารละลาย จะส่งสัญญาณผ่านตัวรับ TNF-α และ TNF-α ในรูปแบบที่อยู่บนเมมเบรนมีการส่งสัญญาณสื่อสารระหว่างเซลล์ แอนติบอดีที่ต่อต้าน TNF-α ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามก็ยังมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น จึงยังมีความต้องการที่จะหาสารประกอบ โมเลกุลขนาดเล็กที่มีฤทธิ์ต่อต้าน TNF-α ซึ่งวิธีการทำงานของสารต่อต้าน TNF-α จะเกี่ยวข้องกับการรักษาของเคอราติโนไซค์ที่ถูกกระตุ้นด้วย TNF-α จากภายนอกก่อน หรือหลังการบ่มด้วยสารต่อต้าน TNF-α อย่างไรก็ตาม เซลล์โมเดลนี้ยังมีความล้มเหลวในการส่งสัญญาณของ TNF-α แบบทั้งสองทาง ดังนั้น ในงานวิจัยครั้งนี้ จึงนำระบบของดอกซีไซคลินเหนี่ยวนำให้มีการแสดงออกของ TNF-α ในเคอราติโนไซค์ มาใช้เป็นเซลล์โมเดล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเซลล์ถูกยับยั้งการเจริญเติบโต และกระตุ้นการแสดงออกของไซโตไคน์และสารบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ IL-1β, IL-8, NF-κB1, และ KRT-16 เช่นเดียวกับเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วย TNF-α จากภายนอก TNF-α ที่ถูกหลั่งออกมาพอเพียงสำหรับการแสดงออกของ IL-1β และ IL-8 ในเซลล์ HaCaT ปกติ ที่สำคัญเมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกของ IL-1β และ IL-8 ในเซลล์ HaCaT-TNF-α การแสดงออกของไซโตไคน์ทั้งสองถูกยับยั้งด้วย Quercetin ซึ่งเป็นฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์เป็นสารต่อต้าน TNF-α ซึ่งเซลล์โมเดลนี้เป็นเซลล์โมเดลที่ใหม่ และมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการส่งสัญญาณทั้งสองทางของ TNF-α และที่สำคัญเซลล์โมเดลนี้ยังให้ผลการทดลองที่ดี รวดเร็ว และง่ายต่อการคัดเลือกหาสารที่มีฤทธิ์ต่อต้าน TNF-α สำหรับการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ