dc.contributor.advisor |
Usaneya Perngparn |
|
dc.contributor.advisor |
Linda B. Cottler |
|
dc.contributor.author |
Nipaporn Apisitwasana |
|
dc.contributor.other |
Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences |
|
dc.date.accessioned |
2017-11-27T10:18:30Z |
|
dc.date.available |
2017-11-27T10:18:30Z |
|
dc.date.issued |
2015 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56414 |
|
dc.description |
Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015 |
|
dc.description.abstract |
Game use and addiction among Thai youth is increasing. This increase has been linked to a variety of negative consequences that affect education, social interactions, and health. Consequently, it is necessary to create a prevention program to minimize the adverse effects of gaming addiction and prevent its spread among children at an early age to minimize its effects. A quasi-experimental study was implemented among grade 4-5 students at primary schools in Bangkok, Thailand between February and July 2015 to develop a self-regulation program with participatory learning techniques, school and family-based intervention to prevent addictive behavior. The schools were selected through multi-stage random sampling. Two comparable schools were randomly assigned to either the intervention or control groups with classrooms randomly selected. Classrooms were divided based on sample size calculation into an intervention group (n=151 students) and a control group (n=159 students). While students in the control group received no intervention, students in the intervention group received self - regulation techniques. The program duration was eight weeks with 1-hour sessions each week. Instruments used in the study were: self - regulation techniques for gaming; questionnaires on knowledge and attitude about games, game addiction screening test (GAST) and game addiction protection scale (GAPS). Master teachers passed in-house training on prevention of gaming addiction in the intervention school, and training for teachers and guidelines for parents. All Participants were assessed three times: at baseline, post intervention, and at a 3 month follow-up. Data was analyzed by using descriptive statistics: Chi-square test, and t-test to describe the characteristics of participants, and repeated measure ANOVA to test the effectiveness of the intervention. As expected due to randomization, at baseline there were no statistically significant differences in the characteristics of either group. After the intervention, findings revealed that there were significant differences in knowledge, attitude, self-regulation and game addiction behavior (p < 0.05) immediately at post-intervention and at the 3 month follow-up for the intervention group. Moreover, positive effects of the intervention included increased knowledge, attitude, and self-regulation and improved game addiction behavior with decreasing time spent on games. GAST scores after intervention and at 3-months were improved. Results from the study suggest that the participatory learning school and family-based intervention program was appropriate for educating the school-age child to prevent and improve game addiction behavior. |
|
dc.description.abstractalternative |
จากการที่เยาวชนไทยมีการเล่นเกมและติดเกมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบเชิงลบต่อการศึกษา การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสุขภาพ ดังนั้นการป้องกันการติดเกมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดผลกระทบและป้องกันการติดเกมในเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2558 เพื่อพัฒนาโปรแกรมการกำกับตนเองด้วยgเทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนและครอบครัวในการป้องกันพฤติกรรมการติดเกม โรงเรียนถูกคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สองโรงเรียนที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันจะถูกสุ่มเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพร้อมกับการสุ่มเลือกห้องเรียนจากโรงเรียนนั้นๆ ห้องเรียนจะถูกแบ่งตามการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยจัดเป็นกลุ่มทดลอง (151 คน) และกลุ่มควบคุม (159 คน) นักเรียนในกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการอบรมใดๆ ในขณะที่นักเรียนในกลุ่มทดลองจะได้รับการอบรมเทคนิคการกำกับตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ครั้งละ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์/ชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เทคนิคการกำกับตนเองในปัญหาการติดเกม แบบสอบถาม เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติเรื่องเกมและผลกระทบจากการติดเกม แบบทดสอบการติดเกม (GAST) และแบบแบบวัดภูมิคุ้มกันการติดเกม(GAPS) ครูต้นแบบที่ผ่านการฝึกอบรมในโปรแกรมการพัฒนาครูต้นแบบการกำกับตนเองในปัญหาการติดเกมด้วยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนและครอบครัว และคู่มือการฝึกอบรมครูและคำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง นักเรียนจะได้รับการประเมิน 3 ครั้ง ก่อนการทดลอง หลังสิ้นสุดการทดลอง และ 3 เดือนหลังการทดลองสิ้นสุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test และ t-test เพื่ออธิบายคุณลักษณะของผู้ร่วมวิจัย และใช้ repeated measure ANOVA เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม ตามความคาดหวังจากการสุ่มตัวอย่าง ก่อนการทดลอง พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ หลังสิ้นสุดโปรแกรมการฝึกอบรม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความรู้เรื่องเกม ด้านทัศนคติต่อเกม การกำกับตนเองต่อการติดเกมและพฤติกรรมการติดเกม (p < 0.05) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเมื่อติดตามวัดผลทันทีหลังสิ้นสุดการทดลองและติดตามผลภายหลัง 3 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่าโปรแกรมการอบรมมีผลในเชิงบวกต่อการเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และการกำกับตนเองในการติดเกม และยังมีผลต่อการปรับปรุงพฤติกรรมการติดเกมด้วยการลดเวลาที่ใช้ในการเล่นเกมและลดคะแนนการติดเกมลงหลังโปรแกรมสิ้นสุดและติดตามผลภายหลัง 3 เดือนอีกด้วย ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ โปรแกรมการพัฒนาการกำกับตนเองในปัญหาการติดเกมด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนและครอบครัวมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ให้ความรู้เพื่อการป้องกันและปรับปรุงพฤติกรรมการติดเกมในเด็กนักเรียนประถมวัย |
|
dc.language.iso |
en |
|
dc.publisher |
Chulalongkorn University |
|
dc.rights |
Chulalongkorn University |
|
dc.title |
DEVELOPMENT OF SELF-REGULATION ON GAMING ADDICTION BY A PARTICIPATORY LEARNING SCHOOL AND FAMILY-BASED INTERVENTION PROGRAM AMONG GRADE 4-5 STUDENTS IN BANGKOK THAILAND |
|
dc.title.alternative |
การพัฒนาการกำกับตนเองในปัญหาการติดเกมด้วยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนและครอบครัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
Doctor of Philosophy |
|
dc.degree.level |
Doctoral Degree |
|
dc.degree.discipline |
Public Health |
|
dc.degree.grantor |
Chulalongkorn University |
|
dc.email.advisor |
Usaneya.P@Chula.ac.th,Usaneya.P@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
lbcottler@ufl.edu |
|