DSpace Repository

ค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือนระดับจุลภาคของคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองต่อเนื้อฟัน เปรียบเทียบกับการใช้สารยึดติดประเภทโททอลเอทช์และออลอินวัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor รังสิมา สกุลณะมรรคา
dc.contributor.author ชลญา บำรุงเรือน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-11-27T10:18:43Z
dc.date.available 2017-11-27T10:18:43Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56433
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือนต่อเนื้อฟันระหว่างการบูรณะด้วยคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเอง กับการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้แบบดั้งเดิมร่วมกับสารยึดติดประเภทโททอลเอทช์และออลอินวันก่อนและหลังผ่านกระบวนการแช่น้ำร้อนสลับเย็น โดยทำการศึกษาในฟันกรามแท้ซี่ที่สามที่ถูกถอนจำนวน 60 ซี่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 20 ซี่) กลุ่มที่ 1 บูรณะด้วยคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเอง กลุ่มที่ 2 บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้แบบดั้งเดิมร่วมกับสารยึดติดประเภทโททอลเอทช์และออลอินวัน และกลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้แบบดั้งเดิมร่วมกับสารยึดติดประเภทออลอินวัน แล้วจึงแบ่งแต่ละกลุ่มเป็น 2 กลุ่มย่อย (กลุ่มละ 10 ซี่) คือกลุ่มที่ทำการทดสอบค่ากำลังแรงยึดภายหลังจากแช่น้ำ 24 ชั่วโมง และกลุ่มที่ทำการทำสอบค่ากำลังแรงยึดภายหลังผ่านกระบวนการแช่น้ำร้อนสลับเย็นจำนวน 5,000 รอบ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ two-way analysis of variance (ANOVA) (p < 0.05) พบว่าการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้แบบดั้งเดิมร่วมกับสารยึดติดประเภทโททอลเอทช์มีค่ากำลังแรงยึดสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ในขณะที่ค่ากำลังแรงยึดของกลุ่มที่บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้แบบดั้งเดิมร่วมกับสารยึดติดประเภทออลอินวันและกลุ่มที่บูรณะด้วยคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองไม่ต่างกัน ทั้งในกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการแช่น้ำร้อนสลับเย็น และพบว่าการแช่น้ำร้อนสลับเย็นจำนวน 5,000 รอบไม่ส่งผลต่อค่ากำลังแรงยึดของวัสดุทั้งสามประเภท (p = 0.512)
dc.description.abstractalternative The aim of the study was to compare micro-shear bond strength (µSBS) of self-adhering flowable composite, total-etching adhesive and all-in-one adhesive to dentin before and after thermocyling. Sixty extracted sound third human molars were divided into 3 groups (n=20) as follow; Group 1: VertiseTM Flow (VF), Group 2: Optibond FL + flowable composite (FL) and Group 3 Optibond all-in-one + flowable composite (All). For each adhesive, half of the specimens were subjected to µSBS test after 24-hour water storage. The others were subjected to thermocycling 5,000 times before µSBS test. Two-way ANOVA showed FL was the highest µSBS values (p < 0.001). Whereas, VF and All had no statistically significant difference. Thermocycling had no effect on µSBS values (p = 0.512).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือนระดับจุลภาคของคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองต่อเนื้อฟัน เปรียบเทียบกับการใช้สารยึดติดประเภทโททอลเอทช์และออลอินวัน
dc.title.alternative MICROSHEAR BOND STRENGTH OF SELF-ADHERING FLOWABLE COMPOSITE TO DENTIN COMPARED WITH TOTAL-ETCHING AND ALL-IN-ONE ADHESIVE
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทันตกรรมหัตถการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Rangsima.S@Chula.ac.th,aorrangsima@yahoo.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record