Abstract:
ความหลากหลายทางชนิดของปลวกได้ถูกศึกษาในพื้นที่ศึกษาป่าเต็งรังและสวนมะม่วง ในบริเวณสถานีวิจัย Chulalongkorn University Forestry and Research Station ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนปี 2555 พบปลวกเพียง 2 ชนิดในทั้งสองพื้นที่ ได้แก่ ปลวกชนิด Macrotermes sp. และOdontotermes sp. อยู่ในวงศ์ย่อย Macrotemitinae, วงศ์ Termitidae สำหรับความหลากหลายทางชนิดของมดทั้งในช่วงฤดูแล้งและช่วงฤดูฝนทั้งสองพื้นที่ศึกษา พบมดทั้งสิ้น 38 ชนิด จัดอยู่ใน 5 วงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย Dolichoderinae (5 ชนิด), วงศ์ย่อย Formicinae (11 ชนิด), วงศ์ย่อย Myrmicinae (14 ชนิด), วงศ์ย่อย Ponerinae (6 ชนิด) และวงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae (2 ชนิด) ชนิดของมดที่พบในพื้นที่ป่าเต็งรัง (23 ชนิด) มีน้อยกว่าในพื้นที่สวนมะม่วง (29 ชนิด) มดเด่นที่พบในพื้นที่ป่าเต็งรัง คือ มดแดง Oecophylla smaragdina ในขณะที่มดเด่นในพื้นที่สวนมะม่วง คือ มดง่าม Pheidologeton diversus นอกจากนี้มดทั้งสองชนิดถูกพบในฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน