DSpace Repository

กรอบทางกฎหมายเกี่ยวกับบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.advisor สุธรรม อยู่ในธรรม
dc.contributor.author วรุณยุพา ศาลาสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial อังกฤษ
dc.coverage.spatial สหรัฐอเมริกา
dc.date.accessioned 2018-01-03T03:19:42Z
dc.date.available 2018-01-03T03:19:42Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56662
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้ากรอบแนวคิดทางกฎหมายที่ใช้กำกับดูแลการให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดินของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดินของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดินเป็นการเฉพาะและกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ล้าสมัยและไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการกำกับดูแลการให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดิน จากการศึกษาพบว่า กฎหมายภายในของประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ได้แก่ประเทศอังกฤษ มีความเป็นมาของแนวความคิดทางกฎหมายของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการ ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมในระยะเริ่มต้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งในแง่ของแนวความคิดทางกฎหมายและองค์การกำกับดูแล แต่ปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายตลอดจนองค์กรกำกับดูแลเพื่อรองรับนโยบายการเปิดเสรีเพื่อการแข่งขันบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับกับกิจกรรมนี้โดยตรง จึงทำให้เกิดปัญหาในการกำกับดูแล ผลสรุปของการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายการแข่งขันในกบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่สนับสนุนการเปิดเสรี ตามหลักการเปิดน่านฟ้า (Open Skies Policy) สามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร และก่อให้เกิดการปฏิรูปหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภายในเพื่อให้การกำกับดูแลการให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดินระบบดาวเทียมประจำที่ (FIXED SATELLITE SERVICE) เป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรมและเอื้ออำนวยต่อการแข่งขัน ทั้งนี้การปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎหมายภายในของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ก็มีผลมาจากนโยบายการเปิดเสรีการให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมในสภาวการณ์ของแข่งขันการให้บริการที่เพิ่มขึ้น โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎหมายภายในที่เกิดขึ้นใหม่นี้มีแนวโน้มของการยกเลิกข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใด ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อนโยบายการเปิดเสรีมากขึ้น ผู้วิจัยขอเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย กล่าวคือ ประเทศไทยควรจัดทำกฎเกณฑ์ที่เป็นกฎหมายในของไทยที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมขึ้นเป็นการเฉพาะโดยให้มีผลใช้บังคับและสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งความมีความกระชับ ชัดเจน และยืดหยุ่น นอกจากนี้ควรกำหนดให้องค์กรกำกับดูแลมีความเป็นเอกภาพโดยมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่เพื่อลดอุปสรรคในการบริหารงานและก่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ en_US
dc.description.abstractalternative This objective of this research is to explore appropriate regulatory framework covering the satellite ground segment services in the US and the EU, particulary of the UK, so as to provide reference for setting up guidelines in Thailand. Currently, Thailand doesn’t have laws specific to this issue and legal passages in use are outdated with no concrete approach in monitoring the satellite ground segment services. After carefully observed the regulation on satellite ground segment services in those countries mentioned above, the conclusion may be drawn form the study is that even though the regulation related to the satellite ground segment services in many countries are significantly diverse, both in legal principle and national regulatory body, the policy for satellite ground segment services is now converging as the service has been globally liberalized. This so-called “Open Sky” policy, commonly perceived as a policy encouraging competition in this sector, brought about the change in policy perspective of the United States and the European Union also effects the national telecommunication infrastructure and national legal framework. It bring about fairer and more transparency in Fixed-Satellite services’ regulatory regime which leads to the amendment of regulation to eliminate any provisions or conditions which are the open sky policy materially barrier to trade. From the study, the researcher suggests that Thailand should enact a clear, flexible and practicable specific regulation on satellite ground segment services and also should entrust the regulator with full decisive authority to minimize any hindrances which arise in administration process. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.17
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ดาวเทียมในโทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en_US
dc.subject ดาวเทียมในโทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- สหรัฐอเมริกา en_US
dc.subject ดาวเทียมในโทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- อังกฤษ en_US
dc.subject โทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject Artificial satellites in telecommunication -- Law and legislation -- United States en_US
dc.subject Artificial satellites in telecommunication -- Law and legislation -- Thailand en_US
dc.subject Artificial satellites in telecommunication -- Law and legislation -- United Kingdom en_US
dc.subject Telecommunication -- Law and legislation en_US
dc.title กรอบทางกฎหมายเกี่ยวกับบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Legal framework for fixed satellite service in thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sakda.T@Chula.ac.th
dc.email.advisor Sudharma.Y@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.17


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record