DSpace Repository

การปฏิบัติต่อสัญญาในคดีล้มละลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สำเรียง เมฆเกรียงไกร
dc.contributor.advisor มุรธา วัฒนะชีวะกุล
dc.contributor.author ภาสวรรณ ณ นคร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2018-01-04T06:12:27Z
dc.date.available 2018-01-04T06:12:27Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56703
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract สัญญาต่างจากทรัพย์สินอื่นในคดีล้มละลาย กล่าวคือ สัญญามักจะรวมเอาไว้ทั้งสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ของลูกหนี้ กองทรัพย์สินจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้เพื่อที่จะได้สิทธิตามสัญญานั้นมา กฎหมายล้มละลายจึงได้สร้างมาตรการพิเศษในการปฏิบัติต่อสัญญาที่ลูกหนี้ได้ทำไว้ โดยให้อำนาจผู้มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ในคดีล้มละลายรับเอาหรือบอกปัดสัญญานั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้กองทรัพย์สินเกิดมูลค่าสูงสุดและลดภาระหนี้สิน อีกทั้ง ในกรณีของการฟื้นฟูกิจการ ย่อมเป็นการรักษากิจการของลูกหนี้ให้อยู่รอด สามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เจ้าหนี้ที่อยู่ในฐานะเดียวกันได้รับชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกัน โดยให้คู่สัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิที่ได้รับค่าเสียหายอันเกิดจากการบอกปัดสัญญาในฐานะเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งจะได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนหนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลาย แนวความคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติต่อสัญญาในคดีล้มละลายของประเทศไทยและของต่างประเทศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพียงแต่กำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติต่อสัญญาไว้อย่างกว้างๆ ยังขาดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้มูลค่ากองทรัพย์สินลดน้อยถอยลงและไม่สามารถลดภาระหนี้สินแก่กองทรัพย์สินได้ เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยในการชำระหนี้คืนน้อยลง อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายทำให้ได้รับความเสียหาย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวดังนี้ 1. กำหนดประเภทของสัญญาที่จะสามารถใช้อำนาจรับเอาหรือบอกปัดได้ โดยต้องเป็นสัญญาซึ่งลูกหนี้และคู่สัญญา อีกฝ่าย ต่างยังมิได้ชำระหนี้ในข้อซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาให้เสร็จสิ้น 2. กำหนดให้ข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุที่เกี่ยวข้องกับคดีล้มละลายไม่มีผลใช้บังคับ 3. กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่โดยทั่วไปในการจัดการกองทรัพย์สินเพื่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด และควรให้ศาลมีอำนาจกลับคำสั่งบอกปัดสัญญาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ 4. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการใช้อำนาจรับเอาหรือบอกปัดสัญญา ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวอาจขยายโดยศาลได้ ส่วนในกระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้นควรให้ผู้ทำแผน ผู้บริหารชั่วคราว หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี มีอำนาจรับเอาหรือบอกปัดสัญญาก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนได้ และให้สิทธิคู่สัญญาอีกฝ่ายสามารถมีคำขอให้ผู้มีอำนาจดังกล่าว พิจารณาว่าจะรับเอาหรือบอกปัดสัญญานั้นภายในระยะเวลาที่ไม่ล่าช้า ทั้งนี้ หากไม่มีการรับเอาสัญญาภายในกำหนดเวลาให้ถือว่าเป็นการบอกปัดสัญญานั้นเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 5. กำหนดหลักเกณฑ์พิเศษในการรับเอาหรือบอกปัดสัญญาบางลักษณะเพื่อคุ้มครองคู่สัญญาอีกฝ่าย 6. กำหนดข้อจำกัดในสัญญาบางลักษณะ ซึ่งไม่สามารถรับเอาได้ 7. กำหนดให้คู่สัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนการที่ตนได้ให้ใช้ทรัพย์สินตามสัญญาต่อไปเพื่อประโยชน์แก่กองทรัพย์สินในช่วงเวลาก่อนมีการรับเอาหรือบอกปัดสัญญา en_US
dc.description.abstractalternative Unlike all other assets of the insolvency estate, contracts usually are tied to the debtor’s claims and liabilities; therefore, the estate must perform in order to enjoy the rights. As a result, the bankruptcy law provides the special measures to treat those contracts by authorize the insolvency representative to assume or reject the debtor’s contracts so as to achieve the objectives of maximizing the value of the estate and reducing liabilities and, in organization, enabling the debtor to survive and continue its affair under the plan. Moreover, such treatment will ensure that similarly situated creditors are treated equitably by entitles the counterparty to claim its damages arising from rejection as an unsecured creditor which will be paid pro rata. The purpose of this research is to study the objectives of the bankruptcy law; the concepts, the principles, and the procedures of the treatment of contracts in bankruptcy proceedings under the Thai and foreign laws. According to the study, it was found that the provisions of the Bankruptcy Act B.E. 2483 as regards the treatment of contracts was broadly prescribed and had insufficient and improper procedures to enforce efficiently and effectively. Thus, the value of the estate was impaired and could not reduce its liabilities, therefore lessen the creditors’ payout rate. Additionally, it was unfair and prejudiced the parties in interest. Consequently, this research has suggested the solution as follow: 1. Specify the type of contract which may assume or reject, that is, the contract under which both the debtor and its counterparty have not yet fully performed their respective obligations; 2. Specify that the ipso facto clauses are unenforceable; 3. Specify the general duties of the official receiver, including an obligation to maximize the value of the estate and authorize the court to withhold the rejection in the interest of justice; 4. Specify a certain time period to assume or reject a contract, which time period may be extended by the court. In the organization; authorize the plan preparer, the temporary administrator, or the official receiver to assume or reject a contract at any time before the confirmation of the plan; and should permit a counterparty to request the plan preparer, the temporary administrator or the official receiver to make a prompt decision. Failure to act within the specified time period, then such contract should be deemed reject; 5. Provide the special treatment of certain contracts in order to protect the counterparty; 6. Identify the types of contracts that cannot assume; and 7. Entitle the counterparty, who continues its performance for the benefit of the estate during the gap period, to claim the compensation arising from using its assets. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.912
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา en_US
dc.subject ล้มละลาย -- ไทย en_US
dc.subject Bankruptcy -- Thailand en_US
dc.subject Civil and commercial law -- Contracts en_US
dc.title การปฏิบัติต่อสัญญาในคดีล้มละลาย en_US
dc.title.alternative Treatment of contracts in bankruptcy proceedings en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Samrieng.M@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.912


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record