Abstract:
การค้าระหว่างไทยกับอิหร่านมีปริมาณไม่มาก แต่สินค้าที่ทำการค้ากันเป็นสินค้าที่เกื้อกูลและเป็นที่ ต้องการของกันและกัน โดยสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งไปอิหร่านของไทย คือ ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่อิหร่าน นำเข้าจากไทยมาก ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับ อิหร่าน วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกข้าวของไทยไปอิหร่าน และศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อการส่งออกข้าวของไทยไปอิหร่าน การศึกษานี้ใช้ดัชนีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) และแบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่ (CMS) ใช้ข้อมูลปี 2540-2548 และประมาณค่าสมการอุปสงค์ โดยใช้วิธี การกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลของปี 2529-2548 ผลการศึกษาพบว่า การส่งออกข้าว ของไทยไปอิหร่าน มีปากีสถาน เวียดนาม และอุรุกวัย เป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญ อย่างไรก็ตามอิหร่านมี ความต้องการนำเข้าข้าวจากไทยมากที่สุด แต่ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกข้าวไปอิหร่านและ การปรับตัวที่สอดคล้องกับความต้องการข้าวของอิหร่านเป็นสิ่งที่ไทยต้องมีการวางแผนการส่งออกที่ดีและ รอบคอบ และต้องใส่ใจให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพข้าวที่ส่งออกไปอิหร่าน เพื่อให้เห็นความ
แตกต่างระหว่างข้าวโพดไทยกับข้าวจากประเทศอื่นๆ ประกอบกับอิหร่านมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดที่ต้อง ศึกษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการส่งออกข้าวจากไทยไปอิหร่านด้วย ซึ่งนอกจาก ราคาข้าวทั้งราคาข้าวของไทยและราคาข้าวของประเทศคู่แข่งแล้วยังมีตัวแปรอื่นๆ เช่น ปริมาณผลผลิตข้าวของอิหร่าน รายได้ของอิหร่าน จำนวนประชากรของอิหร่าน การเกิดภาวะสงคราม การซื้อขายข้าวระหว่างไทยกับอิหร่านแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล รวมถึงคุณภาพข้าว ความเชื่อมั่นในการ ชำระเงิน ความเชื่อมั่นทางการเมือง และการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต โดยเฉพาะโครงการนิวเคลียร์ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหวั่นกับการที่อิหร่านถูกคว่ำบาตร นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความคุ้นเคย และความไว้วางใจระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย