DSpace Repository

การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญในปัญหาทางพาณิชย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.author วินัย จีรวงศ์สุนทร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-01-11T04:38:42Z
dc.date.available 2018-01-11T04:38:42Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56761
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญวิวัฒนาการมาจากแนวความคิดของประเทศอังกฤษในเรื่องการประเมินราคาเมื่อประมาณ 250 ปีก่อน และพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นรูปแบบหนึ่งของการระงับข้อพิพาททางเลือก โดยนำมาใช้กับปัญหาหรือข้อพิพาททางเทคนิค การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดย ผู้เชี่ยวชาญมีลักษณะสำคัญหลายประการแตกต่างจากการระงับข้อพิพาททางเลือกรูปแบบอื่น แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันได้ในลักษณะเป็นกระบวนการเสริมของการเจรจา ไกล่เกลี่ยหรือประนอม ข้อพิพาท หรือการอนุญาโตตุลาการได้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญมีจุดเด่นในเรื่องความรวดเร็วของกระบวนการและสามารถบังคับตามคำวินิจฉัยของผู้เชี่ยวชาญได้ แต่มีจุดด้อยในเรื่องการบังคับตามคำวินิจฉัยในลักษณะระหว่างประเทศ ในต่างประเทศ พบว่า ประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมันได้นำกระบวนการนี้มาใช้อย่าง แพร่หลาย ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกานั้นนำกระบวนการนี้มาใช้อย่างจำกัดเฉพาะการประเมินมูลค่า ความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น นอกจากนี้ หอการค้านานาชาติยังมีการให้บริการเกี่ยวกับการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย สำหรับการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญภายใต้กฎหมายไทยนั้นประสบกับปัญหาและข้อจำกัดหลายประการ เนื่องจากประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติรองรับเกี่ยวกับหลักการสำคัญของการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญไว้โดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าอาจนำกฎหมายในปัจจุบันมาปรับใช้ได้บางเรื่องก็ตาม แต่ไม่อาจทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลตามความประสงค์ของคู่กรณี สมควรบัญญัติกฎหมายและออก ข้อบังคับเพิ่มเติม เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคคลและสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้กระบวนการนี้สามารถนำมาใช้ได้จริงและเกิดผลเป็นที่พอใจแก่คู่กรณี en_US
dc.description.abstractalternative Expert Determination has been evolving from the concept of valuation in England since approximately 250 years ago and it is now one form of Alternative Dispute Resolutions, which can be applied to technical problems or disputes. Despite its essential characteristics, which are different from those of other Alternative Dispute Resolutions, it can be applied to another as an additional procedure, by using decisions of expert as grounds for a later Negotiation, Conciliation, Mediation or Arbitration. Expert Determination has its advantage in speedy procedure and enforceable decision. Nevertheless, decision of expert may be its drawback when enforcement is to be sought internationally. In the United States of America, Expert Determination is used only in appraisal of damages arising from insurance policy. However, in England and Germany, it has been used widely in any dispute. Furthermore, services of Expert Determination are also provided by International Chamber of Commerce. In Thailand, Expert Determination has encountered many difficulties and restrictions, this is because, there is no specific provision regarding Expert Determination. Though Expert Determination is recognized in Thai legal system by general principles of law of contract, it cannot be enforce effectively with due respect to the will of parties. Therefore, it is necessary to issue specific provisions for Expert Determination and to publicize information and understanding to people and institution concerned, in order to provide effectiveness to Expert Determination and satisfaction to parties. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.485
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายพาณิชย์ en_US
dc.subject การสืบสวน en_US
dc.subject การตัดสิน en_US
dc.subject การสอบปากคำในการบังคับใช้กฎหมาย en_US
dc.subject Commercial law en_US
dc.subject Investigations en_US
dc.subject Judgment en_US
dc.subject Interviewing in law enforcement en_US
dc.title การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญในปัญหาทางพาณิชย์ en_US
dc.title.alternative Expert findings of fact in commercial matters en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Phijaisakdi.H@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.485


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record