Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจการโกหกในเด็กอายุ 3 – 6ปี ที่มีเพศแตกต่างกัน 2. เปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนาในเด็กอายุ 3 – 6 ปี ที่มีเพศแตกต่างกัน 3. ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเข้าใจการโกหกในเด็กไทย 4. ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนาในเด็กไทย 5. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเข้าใจเจตนา และความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนา 6. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเข้าใจเจตนา และความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนา กลุ่มตัวย่างเป็นเด็กนักเรียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 3 -6 ปี จำนวน 160 คน แบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ 3 ปี 4 ปี 5 ปี และ 6 ปี ระดับอายุละ 40 คน เป็นเด็กชาย 80 คน และเด็กหญิง 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบดัดแปลงและสร้างขึ้นเพิ่มเติมจากการศึกษาของ Siegal และ Peterson (1998) เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กไทยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) Logistic Regression และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) 2. เด็กอายุ 5-6 ปี มีคะแนนความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนาสุงกว่าเด็กอายุ 3 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ไม่พบความแตกต่างระหว่างเด็กอายุ 3 ปี 4 ปี และอายุ 4-6 ปี ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศ และไม่พบความสัมพันธ์ร่วมระหว่างอายุและเพศ 3. เด็กไทยมีพัฒนาการด้านความสามารถในการเข้าใจการโกหกประมาณอายุ 5 ปี 4. เด็กไทยมีพัฒนาการด้านความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนาประมาณอายุ 5 1/2 ปี 5. คะแนนความสามารถในการเข้าใจเจตนา กับคะแนนความสามารถในการเข้าใจการโกหก มีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .309) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. คะแนนความสามารถในการเข้าใจเจตนา กับคะแนนความสามารถในการเข้าใจการผิดพลาดโดยไม่เจตนามีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .405) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01