DSpace Repository

ปัญหาและลู่ทางว่าด้วยสิทธิในการกำหนดใจตนเองของชนพื้นเมืองดั้งเดิม

Show simple item record

dc.contributor.advisor จันตรี สินศุภฤกษ์
dc.contributor.author ณัฐกฤษตา เมฆา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-02-16T02:16:48Z
dc.date.available 2018-02-16T02:16:48Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57056
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 en_US
dc.description.abstract สิทธิในการกำหนดใจตนเองเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เดิมนั้นใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อการปลดปล่อยอาณานิคม ต่อมามีความพยายามนำสิทธิดังกล่าวไปใช้ในกรณีอื่นๆ รวมถึงกรณีของสิทธิมนุษยชน อันได้แก่การเรียกร้องสิทธิในการกำหนดใจตนเองของชนพื้นเมืองดั้งเดิม สืบเนื่องมาจากพวกเขาถูกลิดรอนสิทธิจากการที่ดินแดนของพวกเขาตกไปอยู่ภายใต้อาณานิคมบ้าง หรือจากการรุกรานเข้าครอบครองของรัฐอื่นบ้าง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่พวกเขาต้องสูญเสียดินแดนแต่อย่างเดียว แต่พวกเขายังถูกทำลายความเป็นตัวตน และวัฒนธรรม การเรียกร้องสิทธิในการกำหนดใจตนเองของชนพื้นเมืองดั้งเดิมนั้นมีจุดประสงค์เพื่อที่พวกเขาจะสามารถมีอิสระในการปกครองตนเอง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถรักษาความเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของพวกเขา รวมถึงวิถีการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมได้สืบไปโดยที่มิได้เป็นการเรียกร้องสิทธิเพื่อการแบ่งแยกดินแดนแต่อย่างใด จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า ปัจจุบันสิทธิในการกำหนดใจตนเองของชนพื้นเมืองดั้งเดิมได้รับการยอมรับในหลักกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว อีกทั้งยังได้รับการรับรองให้ชัดเจนขึ้นจาก ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมืองดั้งเดิม อย่างไรก็ตามปฏิญญาดังกล่าวเป็นการประกาศรับรองสิทธิของชนพื้นเมืองดั้งเดิม แต่มิได้มีผลผูกพันทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อให้สิทธิดังกล่าวได้รับการเคารพ รัฐต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติจึงควรมีมาตรการเฉพาะรองรับสิทธิในปฏิญญาฯ ทั้งนี้เพื่อให้สิทธิดังกล่าวบรรลุเป้าหมายตามหลักการและจุดมุ่งหมายของปฏิญญาฯ en_US
dc.description.abstractalternative The right of self-determination was originally a norm of international law in the context of decolonization. It was later used widely in another area, inter alia, human rights, especially by indigenous peoples. These peoples suffered from the colonization and the invading by States, causing them to lose their land, identity and culture. Therefore, they tried to declare their right to self-determination in order to have their own autonomy, maintain their identity and their way of life, but not secession. Hence, this thesis aims to clarify that indigenous peoples have the right to self-determination or not. Following the study, the author has found that nowadays indigenous peoples’ self-determination has already been accepted as a part of international law. The United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples is the instrument confirming that indigenous peoples have the right to self-determination. However, this declaration is not legally binding. Thus, member States of the United Nations should look for the special measures in order that the principles and purposes of the Declaration shall be achieved. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.634
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง en_US
dc.subject ชนพื้นเมือง -- สถานภาพทางกฎหมาย en_US
dc.subject กฎหมายระหว่างประเทศ en_US
dc.subject Self-determination, National en_US
dc.subject Indigenous peoples -- Legal status, laws, etc. en_US
dc.subject International law en_US
dc.title ปัญหาและลู่ทางว่าด้วยสิทธิในการกำหนดใจตนเองของชนพื้นเมืองดั้งเดิม en_US
dc.title.alternative Problems and prospects concerning the right of self-determination of indigenouse peoples en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.634


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record