Abstract:
ในการศึกษานี้ได้จัดทำบัญชีการปล่อยสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลการตรวจวัดของโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 378 โรงงาน ในระหว่างปี 2546-2548 พบว่า มีอัตราการปล่อยฝุ่นละออง (PM) 263,464 ตัน/ปี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO₂) 347,358 ตัน/ปี และออกไซด์ของไนไตรเจน (NOₓ) 420,219 ตัน/ปี อุตสาหกรรมที่ปล่อยสารมลพิษ เหล่านี้มากที่สุด คือ โรงไฟฟ้า ผลการจัดทำค่า emission factor ของโรงปูนซีเมนต์ พบว่า สำหรับปล่องหม้อเผาซีเมนต์ emission factor ของ PM มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5103 กิโลกรัมต่อตันของปูนซีเมนต์ NOₓ มีค่าเฉลี่ย 2.8426 กิโลกรัมต่อตัน และ SO₂ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.0288 กิโลกรัมต่อตัน ปล่องหม้อเย็น และปล่องหม้อซีเมนต์ มีค่า emission factor ของ PM อยู่ที่ 0.0057, 0.0321 และ 0.0086 กิโลกรัมต่อตันของปูนซีเมนต์ ตามลำดับ ผลการประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอแก่งคอย โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ISCST3 ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง โดยเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นที่ ประเมินได้กับค่าตรวจวัดจริงจากสถานีตรวจวัดอากาศในพื้นที่ และใช้วิธีทางสถิติ คือ Fractional Bias, NMSE และ Factor of Two ผลจากการทำนายความเข้มข้นสารมลพิษ โดยใช้แบบจำลองทาง ISCST3 ให้ค่าความน่าเชื่อถือในระดับที่น่าพอใจ โดยให้ผลการประเมินของ NOₓ และ SO₂ สูงกว่าผลการตรวจวัดจริง ส่วน PM จะได้ค่าประเมินต่ำกว่า ค่าตรวจวัดจริง การประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอแก่งคอย ได้พิจารณา 3 กรณี คือ กรณีใช้อัตราการระบายมลพิษ สูงสุดตามที่ได้รับอนุมัติตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีอัตราการระบายจริง และกรณีสภาวะจำลอง เมื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษขัดข้อง ผลของการประเมิน พบว่า
กรณีใช้อัตราการระบายมลพิษสูงสุด ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดของก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NO₂ ในเวลา 1 ชั่วโมง ที่พื้นผิวดิน มีค่า 668.78 ug/m[superscript 3] ซึ่งเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (320 ug/m [superscript 3] ส่วนค่า SO² และฝุ่นละอองรวม (TSP) ไม่เกินค่ามาตรฐาน และกรณีใช้อัตราการระบายเฉลี่ย ตามค่าการปล่อยจริง พบว่า ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดของ NO₂ ในเวลา 1 ชั่วโมง ที่พื้นผิวดิน มีค่า 238.88 ug/m₃ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 1 ชั่วโมง ของ SO₂ มีค่า 16.01 ug/m³ และค่าเฉลี่ยสูงสุด 24 ชั่วโมง ของ TSP มีค่า 228,58 ug/m³ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้น ในกรณีสภาวะจำลองที่อุปกรณ์บำบัดมลพิษ อากาศหยุดการทำงาน พบว่า อุปกรณ์บำบัดหยุดการทำงานไม่เกิน 6.30 นาที ในช่วงระยะเวลาการทำงาน 1 วัน (1,440 นาที) เพื่อมิให้ความเข้มข้นเฉลี่ยของ TSP ที่ระดับพื้นดินในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าเกิน 330 ug/m₃