DSpace Repository

บัญชีการปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมที่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และการใช้ประโยชน์เพื่อจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิจิตรา จงวิศาล
dc.contributor.advisor สนธิ คชวัฒน์
dc.contributor.author ทรงวุฒิ ศรีสว่าง
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial สระบุรี
dc.date.accessioned 2018-02-16T04:27:47Z
dc.date.available 2018-02-16T04:27:47Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57067
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract ในการศึกษานี้ได้จัดทำบัญชีการปล่อยสารมลพิษทางอากาศจากข้อมูลการตรวจวัดของโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 378 โรงงาน ในระหว่างปี 2546-2548 พบว่า มีอัตราการปล่อยฝุ่นละออง (PM) 263,464 ตัน/ปี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO₂) 347,358 ตัน/ปี และออกไซด์ของไนไตรเจน (NOₓ) 420,219 ตัน/ปี อุตสาหกรรมที่ปล่อยสารมลพิษ เหล่านี้มากที่สุด คือ โรงไฟฟ้า ผลการจัดทำค่า emission factor ของโรงปูนซีเมนต์ พบว่า สำหรับปล่องหม้อเผาซีเมนต์ emission factor ของ PM มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5103 กิโลกรัมต่อตันของปูนซีเมนต์ NOₓ มีค่าเฉลี่ย 2.8426 กิโลกรัมต่อตัน และ SO₂ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.0288 กิโลกรัมต่อตัน ปล่องหม้อเย็น และปล่องหม้อซีเมนต์ มีค่า emission factor ของ PM อยู่ที่ 0.0057, 0.0321 และ 0.0086 กิโลกรัมต่อตันของปูนซีเมนต์ ตามลำดับ ผลการประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอแก่งคอย โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ISCST3 ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง โดยเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นที่ ประเมินได้กับค่าตรวจวัดจริงจากสถานีตรวจวัดอากาศในพื้นที่ และใช้วิธีทางสถิติ คือ Fractional Bias, NMSE และ Factor of Two ผลจากการทำนายความเข้มข้นสารมลพิษ โดยใช้แบบจำลองทาง ISCST3 ให้ค่าความน่าเชื่อถือในระดับที่น่าพอใจ โดยให้ผลการประเมินของ NOₓ และ SO₂ สูงกว่าผลการตรวจวัดจริง ส่วน PM จะได้ค่าประเมินต่ำกว่า ค่าตรวจวัดจริง การประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอแก่งคอย ได้พิจารณา 3 กรณี คือ กรณีใช้อัตราการระบายมลพิษ สูงสุดตามที่ได้รับอนุมัติตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีอัตราการระบายจริง และกรณีสภาวะจำลอง เมื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษขัดข้อง ผลของการประเมิน พบว่า กรณีใช้อัตราการระบายมลพิษสูงสุด ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดของก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NO₂ ในเวลา 1 ชั่วโมง ที่พื้นผิวดิน มีค่า 668.78 ug/m[superscript 3] ซึ่งเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (320 ug/m [superscript 3] ส่วนค่า SO² และฝุ่นละอองรวม (TSP) ไม่เกินค่ามาตรฐาน และกรณีใช้อัตราการระบายเฉลี่ย ตามค่าการปล่อยจริง พบว่า ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดของ NO₂ ในเวลา 1 ชั่วโมง ที่พื้นผิวดิน มีค่า 238.88 ug/m₃ ค่าเฉลี่ยสูงสุด 1 ชั่วโมง ของ SO₂ มีค่า 16.01 ug/m³ และค่าเฉลี่ยสูงสุด 24 ชั่วโมง ของ TSP มีค่า 228,58 ug/m³ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้น ในกรณีสภาวะจำลองที่อุปกรณ์บำบัดมลพิษ อากาศหยุดการทำงาน พบว่า อุปกรณ์บำบัดหยุดการทำงานไม่เกิน 6.30 นาที ในช่วงระยะเวลาการทำงาน 1 วัน (1,440 นาที) เพื่อมิให้ความเข้มข้นเฉลี่ยของ TSP ที่ระดับพื้นดินในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าเกิน 330 ug/m₃ en_US
dc.description.abstractalternative The emission inventory of air emission was developed from the monitoring results of stack emissions of 378 factories during the year 2004-2006. The emission loading of particulate matter (PM), Sulfur dioxide (SO₂) and Oxides of nitrogen (NO were found to be 263,464 tons/years, 347,358 tons/years and 420,219 tons/years respectively. The thermal power plants were found to be the largest contributor of NOx’ SO₂ and PM. The emission factors of cement industries were also developed. The study revealed that the emission factors of PM, NOx and SO₂ emission (under control) from the main stack were averaged to be 0.5103, 2.8426 and 0.0288 kg/ton of cement, respectively. The emission factors of PM emission form the coal mill stack, clinker cooler stack and the cement mills stack were found to be the average of 0.0057, 0.0321 and 0.0086 kg/ton of cement, respectively. The air quality in Kaengkhoi district, Saraburi was estimated by ISCST 3 model which was verified by comparing the estimated ground-level concentration with the measured values from the monitoring stations and statistical values. The comparison indicated that the modeling results of NO₂ and SO₂ were slightly overestimated, while that of PM was slightly underestimated. The simulation results were considered to be satisfactory. In case of the maximum allowable loading in EIA reports, the maximum 1-hr average ground-level concentration of NO₂ was estimated to be 668.78 ug/m³, exceeding the ambient air quality standard. The estimated values of SO[subscript 2] and Total Suspended Particulate (TSP) were found to be below the air quality standard. Based on the actual loading, the estimated maximum 1-hr average ground-level concentration of NO₂, SO₂ and TSP were found to be 238.88 ug/m³, 16.01 ug/m³ and 228.58 ug/m³ respectively, being below the air quality standard. In case of the air pollution control equipment failure, the simulation results revealed that the control equipment was allowed to be shutdown for only 6.30 minutes in a day in order to control the 24-hr average ground-level concentration of TSP not exceeding the standard of 330 ug/m³ en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1035
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม -- ไทย en_US
dc.subject ของเสียจากโรงงาน -- ไทย -- สระบุรี en_US
dc.subject การจัดการคุณภาพอากาศ -- ไทย -- สระบุรี en_US
dc.subject Air quality management -- Thailand -- Saraburi province en_US
dc.subject Factory and trade waste -- Thailand -- Saraburi province en_US
dc.subject Environmental impact statement -- Thailand en_US
dc.title บัญชีการปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมที่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และการใช้ประโยชน์เพื่อจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี en_US
dc.title.alternative Emission inventory of air emissions from industries and industrial estates performing environmental impact assessment in Thailand and its utilization for air quality management in Amphoe Kaeng Khoi, Saraburi en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมี en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor vichitra.c@chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.1035


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record