dc.contributor.advisor |
ชโยดม สรรพศรี |
|
dc.contributor.author |
วรานิษฐ์ บัลลังก์โพธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-02-19T03:42:54Z |
|
dc.date.available |
2018-02-19T03:42:54Z |
|
dc.date.issued |
2551 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57114 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
en_US |
dc.description.abstract |
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหมาะสมแก่การเกษตร การผลิตปลาเผาะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่แพร่หลายนัก แต่มีความต้องการในต่างประเทศสูงขึ้นรัฐบาลจึงสนับสนุนโครงการพัฒนาสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยเพื่อการส่งออก: ปลาเผาะ เพื่อขยายการผลิตและแปรรูปปลาเผาะเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตปลาเผาะเพื่อการส่งออกสำคัญเพียงประเทศเดียว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทย และศึกษาปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินโครงการฯ โดยใช้ข้อมูลที่จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาเผาะ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในจังหวัดนครพนม และเพื่อศึกษาโครงสร้างการกระจายผลผลิตและการใช้ปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทย การเชื่อมโยงของสาขาการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทย และผลกระทบของการขยายการผลิตปลาเผาะต่อผลผลิตรวมในประเทศ การส่งออก และผลตอบแทนปัจจัยการผลิต โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตปี พ.ศ.2543 ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการดำเนินอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะเพื่อการส่งออก แต่ต้องมีการปรับปรุงในด้านการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยควรมีการวางแผนทางด้านการตลาดและสิ่งแวดล้อมให้มีรายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางให้อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ
เมื่อพิจารณาจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาการประมงน้ำจืดและมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิตมาจากวัสดุเหลือใช้ของการทำปลากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องมากที่สุด ในขณะที่มีการกระจายผลผลิตไปยังการผลิตอาหารสัตว์มากที่สุด ในขณะที่การเชื่องโยงไปข้างหลังมีความสัมพันธ์กับการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และการเชื่อมโยงไปข้างหน้าสัมพันธ์กับการค้าส่งมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะไทยและการประมงน้ำจืดขยายตัวส่งผลให้ภาคการส่งออกขยายตัวมากที่สุด รวมทั้งผลผลิตรวมในประเทศก็ขยายตัวด้วย เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางด้านการผลิตจะพบว่า ภาคเกษตรกรรมได้รับผลตอบแทนปัจจัยการผลิตมากที่สุด รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ตามลำดับ สอดคล้องกับนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะเพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้แก่เกษตรกร โครงการฯ นำร่องทีจังหวัดนครพนมประสบกับปัญหาหลายด้านด้วยกัน ทั้งในด้านการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาเผาะ ผลิตภัณฑ์ปลาเผาะไม่มีความหลากหลาย และขาดผู้ดำเนินงานที่มีความชำนาญ ซึ่งปัญหาจากโครงการฯ เป็นบทเรียนเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและการส่งออกปลาเผาะ โดยการเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมในการผลิตและแปรรูป รวมทั้งการวางแผนทางด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2076 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปลาน้ำจืด |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมปลาน้ำจืด |
en_US |
dc.subject |
การพัฒนาอุตสาหกรรม |
en_US |
dc.subject |
Freshwater fishes |
en_US |
dc.subject |
Industrialization |
en_US |
dc.title |
ศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิตปลาเผาะ (Pangasius sp.) ไทย |
en_US |
dc.title.alternative |
Potental of Thai pangasius species industry |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
csabhasri@yahoo.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2008.2076 |
|