DSpace Repository

เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author กำธร พฤกษานานนท์
dc.contributor.author รัฐจักร รังสิวิวัฒน์
dc.contributor.author ปราณี นำชัยศรีค้า
dc.contributor.author วิชชุดา อานนท์กิจพานิช
dc.contributor.author ประมวล วีรุตมเสน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-02-26T08:49:39Z
dc.date.available 2018-02-26T08:49:39Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57257
dc.description.abstract ผลการวิจัยที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยสามารถสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนที่เจริญแบบปกติและผ่านการแช่แข็งได้หนึ่งสายพันธุ์ คือ Chula2.hES(CUHES2) สองสายพันธุ์ที่เจริญแบบปกติและไม่ผ่านการแช่แข็ง คือ Chula4.hES (CUHES4) และ Chula5.hES (CUHES5) และหนึ่งสายพันุ์ได้จากตัวอ่อนที่เจริญผิดปกติหลังการปฏิสนธิแต่ไม่ผ่านการแช่แข็ง คือ Chula3.hES (CUHES3) ในปีที่สี่ของการศึกษาวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ (1) ทดสอบและเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ของสายพันธุ์แซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนที่สร้างได้ ทั้งในจานเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องทดลองและในร่างกายของสัตว์ทดลอง และ (2) กระตุ้นไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแต่ไม่เกิดการแบ่งตัวด้วยสารเคมีเพื่อให้เกิดการแบ่งตัวเจริญจนถึงระยะบลาสโตซิสสำหรับใช้แยกเซลล์ต้นกำเนิดผลการทดลองทำให้ทราบว่าสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดที่สร้างจากตัวอ่อนที่ผ่านการแช่แข็งและไม่ผ่านการแช่แข็ง มีคุณสมบัติของการเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ไม่แตกต่างกัน เซลล์ต้นกำเนิดทั้งสองกลุ่มสามารถกระตุ้นให้เกิด teratoma ในหนูที่ถูกทำงายภูมิคุ้มกันและสามารถรักษาสภาพของโครโมโซมให้เป็นปกติได้ แม้จะผ่านการแช่แข็ง และเลี้ยงในห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตัวอ่อนที่ผ่านการกระตุ้นด้วยน้ำยาเลี้ยงที่เติม ionomycin,, 6-DMAP และ cyclohexamide ที่มี TSA หรือไม่มี TSA สามารถสร้าง pronuclei ได้ แต่ไม่สามารถเจริญจนถึงระยะบลาสโตซิส จึงไม่สามารถแยกเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนกลุ่มนี้ได้ en_US
dc.description.abstractalternative In our previous report, we were able to derive one hE cell line, Chula.hES (CUHES2) from frozen embryo, two lines from fresh embryos, Chula4.hES (CUHES4) and Chula5.hES (CUHES5) and one line from fresh-abnormal development embryo, Chula3.hES (CUHES3). The objectives of the fourth year were (i) to characterize the established hES cell lines both in vivo and in vitro and (ii) chemically activate the failed to fertilized egg for isolation of hES cells. The results demonstrated that hES cell line derived from frozen - or fresh embryos exhibit no differences of pluripotency as shown by the results of characterization, teratoma formation and maintenance of normal karyotype after long-term culture. Failed to fertilized egg can be reactivated by culture in the culture medium containing of ionomycin, 6-DMAP, cyclohexamide with or without TSA as shown by pronuclei formation. However, reactivated embryos were unable to develop to blastocyst stage. Thus, no hES cell line can be isolated from failed to fertilized egg. en_US
dc.description.budget ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2554 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สเต็มเซลล์ตัวอ่อน en_US
dc.title เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน : รายงานวิจัย en_US
dc.title.alternative Embryonic stem cell en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record