Abstract:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของอาชีพ ที่มีต่อการบริโภคดินของคนไทยอายุ 30-50 ปี ในจังหวัดพัทลุง จำนวนทั้งหมด 10 คน อายุระหว่าง 30-50 ปี โดยศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการบริโภคดินของเกษตรกรจำนวน 5 คน กับผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ จำนวน 5 คน การวัดปริมาณการบริโภคดินในแต่ละวัน ใช้หลักการหาความสมดุลของปริมาณ trace elements ที่ได้รับและขับออกจากร่างกาย (Mass - Balance Methodology) โดยใช้ Aluminum (Al) และ Yttrium (Y) เป็น trace elements ทำการเก็บตัวอย่างอาหารแบบ duplicate meals ตัวอย่างดิน และตัวอย่างอุจจาระเป็นเวลา 7 วันต่อเนื่องกัน วิเคราะห์หาปริมาณ Al และ Y ในตัวอย่างโดยใช้วิธี Inductively Coupled Plasma Atomic Emission Spectrometry (ICP-AES) พบว่าค่าเฉลี่ย ค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 ค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 75 และค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 95 การบริโภคดินของเกษตรกรที่ได้จากการวิเคราะห์ Al มีค่าเท่ากับ 107.15 +- 55.14, 61.35, 137.91 และ 213.37 มิลลิกรัม/วัน ตามลำดับ และที่ได้จากการวิเคราะห์ Y มีค่าเท่ากับ 45.73 +- 50.40, 7.28, 84.20 และ 144.62 มิลลิกรัม/วัน ตามลำดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ย ค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 ค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 75 และ ค่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 95 การบริโภคดินของกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์หา Al มีค่าเท่ากับ 97.92 +- 51.49, 56.86, 133.25 และ 185.59 มิลลิกรัม/วัน ตามลำดับ และที่ได้จากการวิเคราะห์หา Y มีค่าเท่ากับ 49.15 +- 62.41, -5.61, 103.18 และ 178.26 มิลลิกรัม/วัน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยอัตราการบริโภคดิน ระหว่างกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ทั้งที่ได้จากการวิเคราะห์หา Al (107.15 +- 55.14 และ 97.92 +- 51.49 มิลลิกรัม/วัน) และ Y (45.73 +- 50.40 และ 49.15 +- 62.41 มิลลิกรัม/วัน) โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.6919 และ p-value เท่ากับ 0.2180 ตามลำดับ