DSpace Repository

สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร : ระบบครอบครัวและความสัมพันธ์ทางสังคม ของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนโบ๊เบ๊ : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author บุญยง ชื่นสุวิมล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2018-03-14T09:20:28Z
dc.date.available 2018-03-14T09:20:28Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57846
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความเชื่อ ศาสนา การแต่งงาน การอบรมสั่งสอน การศึกษา การสืบมรดก การติดต่อกับสมาคมแซ่ และการติดต่อกับประเทศจีน สถาบันที่สำคัญภายในชุมชน การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างครอบครัว และชุมชนโบ๊เบ๊ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบมานุษยวิทยา ใช้เครื่องมือสัมภาษณ์ในเก็บข้อมูลจากตัวแทนครอบครัวจำนวน 43 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้ทำการสัมภาษณ์เจาะลึก (indepth interview) อีก 6 ครัวเรือน และสัมภาษณ์บุคคลในสถาบันที่สำคัญของชุมชน ผลจากการศึกษาพบว่า 1. โครงสร้างครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวตั้งแต่รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 2. ครอบครัวมีลักษณะ Patrilineal Descent คือสามียังมีอำนาจแต่ไม่ใช่สูงสุด 3. ความคิดในการให้บุตรชายคนโตเป็นผู้สืบทอดกิจการต่อไปนั้นเสื่อมคลายลงไป 4. การแบ่งมรดกในครอบครัว ครอบครัวจะให้เท่ากันระหว่างชายและหญิง รวมทั้งการศึกษา ทำให้สถานะของหญิงในครอบครัวไม่ต่างกับชาย 5. วัฒนธรรมด้านภาษาเริ่มคลายตัวลงตั้งแต่คนจีนรุ่นที่ 2 และมีแนวโน้มจะหายไปในคนรุ่นที่ 3 6. ชุมชนมีลักษณะ Heterogeneity ผู้คนมาจากที่ต่างกันรวมตัวกันเป็นชุมชน 7. การติดต่อกับวัฒนธรรมใหญ่คือประเทศจีนเริ่มขาดหายไป การติดต่อกับสถาบันตัวแทนของวัฒนธรรมจีนคือสมาคมแซ่ก็เริ่มคลายตัวลงไป 8. การปฏิบัติประเพณีจีนในรอบปีของคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 2 ลดน้อยลงและมีแนวโน้มจะหายไปในคนรุ่นที่ 3 ยกเว้นตรุษจีน 9. คนไทยเชื้อสายจีนยังคงดำรงความเชื่อในสถาบันศาลเจ้าปึงเก่ากงอย่างเหนียวแน่น แต่ในขณะเดียวกันความเชื่อในเรื่องศาสนาพุทธก็ได้มีอิทธิพลต่อชุมชน จากความร่วมมือระหว่างวัดกับกรรมการศาลเจ้า และการปฏิบัติตามประเพณีไทยของคนไทยเชื้อสายจีน 10. สมาคมโบ๊เบ๊เป็นสถาบันสังคมและเป็นสถาบันเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นตัวแทนของชุมชนในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกให้แพร่หลายในตลาดต่างประเทศด้วยเครือข่ายอินเตอร์เนต en_US
dc.description.abstractalternative This research objection is to study about family structure, the internal relationship, belief, religious, marriage, socialization, education, inheritance, social contact and communication with mainland China, the social relation to family name group and family structure changes and so on which is researched by an anthropology methodology and collect datas or information by random interviewing from 43 families. Moreover, another 6 families case study was interviewed by the in depth interview method and interview other persons in the outstanding institutions. The results are shown as this following. 1. Almost all Thai-Chinese family structure is a nuclear family from the first to second generation 2. The Patrilineal descent still exists. That is husband has an authority but not the highest. 3. The unique idea for the first son who has to be an inherit dexcendant is becoming decrease. 4. The inherit allocation in family is equal both women and men together with education that make women status does not differ from men at all. 5. Language culture is being decrease since the second generation and trends to be vanished in the third generation. 6. The community is a heterogeneity characteristic that always meet in community. 7. Contaction with the former mainland culture or family name groups can not find at present. 8. The traditional behavior of Thai-Chinese ethic group in the second generation is being decrease and trends to be disappeared in the third generation exception for the Chinese new year day. 9. Chinese-Thai ethic group still belive unchangeable in Chinese shrine belief while Buddism religious is extremely influence in community because of the cooperation between temple and Chinese temple commitees and Thai-Chinese ethic group behavior as Thai culture. 10. The Chinese communication is crucial for the economic institutions where is the representative to distribute and widespread the member commodities in foreign countries by internet. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject ครอบครัว -- ไทย en_US
dc.subject กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject ชาวจีน -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี en_US
dc.title สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร : ระบบครอบครัวและความสัมพันธ์ทางสังคม ของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนโบ๊เบ๊ : รายงานผลการวิจัย en_US
dc.title.alternative Family institutions of ethnic groups in Bangkok metropolis : family system and social relationship of Thai-Chinese ethnic groups in Boebe community en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author boonyongchum@yahoo.com
dc.discipline.code 0812 en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record