DSpace Repository

การลงทุนต่างประเทศจากประเทศกำลังพัฒนาในรัฐสังคมนิยม : ศึกษากรณีการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติไทยในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา
dc.contributor.author วิทวัส บูรณะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-04-11T01:31:05Z
dc.date.available 2018-04-11T01:31:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58081
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศสังคมนิยม โดยเป็นการศึกษาบรรษัทข้ามชาติจากประเทศกำลังพัฒนาที่ไปลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment, FDI) ในรัฐสังคมนิยมโดยใช้กรณีศึกษาของบรรษัทข้ามชาติจากประเทศไทย ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) และกลุ่มไทยซัมมิท (Thai Summit) ที่ไปลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วัตถุประสงค์ต้องการทราบว่าโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่มีตัวแสดงสำคัญคือบรรษัทข้ามชาติมีอิทธิพลหรือไม่อย่างไรในเวียดนาม และ ต้องการทราบว่าบรรษัทข้ามชาติไทยจะมีอิทธิพลในฐานะตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศในกรณีการลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามหรือไม่ อย่างไร การศึกษานี้ใช้วิธีการในเชิงคุณภาพโดยการศึกษาสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 49 ท่าน ประกอบกับการศึกษาตำรา บทความ ตลอดจนสื่อสารมวลชนต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า เวียดนามไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ แต่มีปัจจัยสำคัญคือ การเป็นรัฐเผด็จการคอมมิวนิสต์ การปลูกฝังค่านิยมตามแนวทางขงจี๊อ และค่านิยมรักชาติ เป็นเครื่องมือตลอดจนเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญ ในการสนับสนุนให้เวียดนามเป็นตัวแสดงที่มียุทธศาสตร์ และสามารถอยู่ท่ามกลางโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ ในมิติของการเป็นตัวแสดงทางการเมืองของบรรษัทข้ามชาติไทย ผู้วิจัยพบว่าในระยะเริ่มแรกของการเข้าไปลงทุน ซีพีมีฐานะเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศเนื่องจากการครอบครองเทคโนโลยีทางการเกษตร และจะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเกษตรที่เวียดนามเผชิญอยู่ เอสซีจีไม่มีฐานะในการเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศจากปรัชญาการทำธุรกิจของบริษัท ขณะที่ไทยซัมมิทไม่มีบทบาทในฐานะตัวแสดงการเมืองระหว่างประเทศโดยการลงทุนของไทยซัมมิทนั้นได้ประโยชน์ในฐานะที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตยานยนต์ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว การดำเนินธุรกิจในระยะต่อมาพบว่าซีพีไม่มีฐานะเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศเนื่องจากปัญหาด้านการเกษตรในเวียดนามได้รับการแก้ไข เอสซีจีในเวียดนามไม่มีฐานะเป็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยตัวเอง แต่สามารถใช้ความเข้มแข็งในประเทศผลักดันนโยบายผ่านตัวแสดงทางเมืองของไทยได้ ในขณะที่การลงทุนของไทยซัมมิทยังคงเป็นไปในลักษณะเช่นเดิม
dc.description.abstractalternative This research aimed to inspect the influences of economic globalization on the socialist state by studying investment of Multinational Corporations (MNCs) from Less Developed Countries (LDCs) investing in socialist state. The research employed Thai’s MNCs (CP, SCG and Thai Summit) investing in Vietnam as the case study. The purposes of the research were to explore the impact of economic globalization representing by MNCs on Vietnam, and whether Thai’s MNCs were entitled as international political actor. This research used qualitative methodology by conducting in-depth interview of 49 key informants as well as documents. The findings revealed that Vietnam was unbale to avoid the influences of economic globalization. However, there are three important elements, namely, the authoritarian nature of political system, the Confucian values and nationalism . These elements have equipped Vietnam with strength and immunity in order to act strategically. The findings also revealed that at the beginning, only CP possessed the international political actor characteristic as the nature of its business and the technological strengths were consistent with the agricultural problems beset Vietnam thus CP was the part of the solutions. SCG philosophy of doing business was not consistent with the international political actor’s nature. Thai Summit was not international political actor as its business was in automotive international production chains where the role of Vietnamese government was already supportive. In terms of their operation up to now, CP’s political actor role vanished as the agricultural problem solved while SCG was still in no place near international political actor’s role. However, SCG utilized its strength in Thailand’s political actor to push SCG project through in Vietnam. Thai Summit still maintained its character from the beginning.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1189
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การลงทุน
dc.subject บรรษัทข้ามชาติ
dc.subject Investments
dc.subject International business enterprises
dc.title การลงทุนต่างประเทศจากประเทศกำลังพัฒนาในรัฐสังคมนิยม : ศึกษากรณีการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติไทยในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
dc.title.alternative Foreign investment from LDCs in socialist states : a case study of Thai MNCs in the Socialist Republic of Vietnam
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Ake.T@Chula.ac.th,ake.tangsupvattana@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1189


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record