Abstract:
ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจจีนทำการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน แต่อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ได้ฟื้นตัวได้เท่าที่ควร ทำให้เศรษฐกิจจีนที่พึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอกอย่างมาก ประกอบกับข้อได้เปรียบของจีนไม่ได้เปรียบอีกต่อไปในสภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดการชะลอตัว กระทั่งเผชิญกับปัญหาผลผลิตล้นเกินซึ่งนำไปสู่ด้านสภาพคล่องของกิจการ และปัญหาหนี้สินในภาพรวมของระบบเศรษฐกิจและโดยเฉพาะกิจการที่มีรัฐเป็นเจ้าของในที่สุด ปัญหาต่างๆเหล่านี้นำไปสู่การแสวงหาแนวทางและมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมถูกดำริขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจจีน และช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกไปพร้อมๆกัน โดยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกันผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างกันในหลายๆด้านบนพื้นฐานของการแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน นอกจากระบบเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงภายใต้ข้อริเริ่มเส้นทางสายไหม ยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านภูมิรัฐศาสตร์และภูมิยุทธศาสตร์อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านทางภูมิทัศน์ทาง “ภูมิเศรษฐศาสตร์การเมืองในระดับโลก” โดยจีนและนานาประเทศต่างมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาที่ยั่งยืน