dc.contributor.advisor |
วีรชาติ เปรมานนท์ |
|
dc.contributor.author |
ภาศิณี สกุลสุรรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-04-11T01:32:51Z |
|
dc.date.available |
2018-04-11T01:32:51Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58186 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
|
dc.description.abstract |
บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ จิตรกรรมเพลงภาพชีวิต ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เป็นบทเพลง สำหรับเครื่องเดี่ยวปี่และโคโตะ บรรเลงร่วมกับวงดนตรีเชมเบอร์และวงวินด์ซิมโฟนี ประพันธ์ขึ้นเพื่อสร้างสรรค์บทเพลงร่วมสมัยที่บูรณาการแนวคิดการประพันธ์ของดนตรีตะวันตกเข้ากับวัฒนธรรมดนตรีไทยและดนตรีญี่ปุ่น ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวความประทับใจที่เกิดขึ้นจากชีวประวัติของอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง (ค.ศ. 1912-1999) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลง) ผู้มีความสามารถทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ชิ้นนี้มี 3 กระบวน ได้แก่กระบวนที่ 1 "วังบูรพาภิรมย์" สำหรับปี่ บรรเลงเดี่ยวกับวงออกเท็ต บรรยายถึงหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) บิดาของอาจารย์ประสิทธิ์ ผู้วางรากฐานให้อาจารย์ประสิทธิ์ได้เดินบนเส้นทางสายดนตรี, กระบวนที่ 2 "โตเกียวองงากุกักโก" สำหรับโคโตะ บรรเลงเดี่ยวกับวงสตริงควินเท็ต บรรยายช่วงชีวิตของอาจารย์ประสิทธิ์ขณะไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น และกระบวนที่ 3 "บ้านบาตร" สำหรับปี่ในและโคโตะ บรรเลงเดี่ยวกับวงวินด์ซิมโฟนี บรรยายถึงช่วงชีวิตการทำงานของอาจารย์ประสิทธิ์หลังกลับจากประเทศญี่ปุ่น บทเพลงนี้มีความยาวประมาณ 35 นาที แต่ละกระบวนมีสังคีตลักษณ์แบบ 3 ตอน ประพันธ์ด้วยระบบดนตรีที่มีศูนย์กลางเสียง มีการใช้บันไดเสียงเฉพาะที่แทนลักษณะของดนตรีไทยและดนตรีญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการต่อยอดพัฒนาการการประพันธ์ดนตรีร่วมสมัยที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดนตรีไทยและดนตรีญี่ปุ่นเข้ากับดนตรีตะวันตก มีคุณค่าทั้งในแง่สุนทรียศาสตร์และในเชิงวิชาการ คำสำคัญ: จิตรกรรมเพลงภาพชีวิต ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง / ปี่ / โคโตะ / วงดนตรีเชมเบอร์ / วงออกเท็ต / วงสตริงควินเท็ต / วงวินด์ซิมโฟนี |
|
dc.description.abstractalternative |
The Doctoral Music Composition “The Portraits of Prasidh Silapabanleng” is a music composition for solo Pi, solo Koto, Chamber Ensemble and Wind Symphony. The Composition is intended to create a contemporary piece that integrates the concept of Thai and Japanese music composition with the concept of western music composition and to convey impressive life story of Prasidh Silapabanleng (1912-1999), Thailand’s National Artist in Performing Arts (Composer), who possessed great capabilities in Thai traditional music and western music. This Doctoral Music Composition consists of three movements: Movement 1 “Wang Burabhabhirom” for Pi and Octet, portraying the character of Luang Pradit Phairoh who laid a strong foundation for Prasidh’s professional career; Movement 2 “Tokyo Ongaku Gakko” for Koto and String Quintet, portraying the life of Prasidh during his years of education in Japan; and Movement 3 “Ban Batt” for Pi Nai, Koto and Wind Symphony, portraying the career establishment of Prasidh after returning from Japan. Total duration of the Composition is approximately 35 minutes. Each movement is written in Ternary form under Tone Center with the use of unique oriental scales, signifying characteristics of Thai and Japanese music. The work is a further development of contemporary music composition approach which delivers both aesthetic and academic value. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1474 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง |
|
dc.subject |
การแต่งเพลง |
|
dc.subject |
Prasidh Silapabanleng |
|
dc.subject |
Composition (Music) |
|
dc.title |
บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : จิตรกรรมเพลงภาพชีวิต ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง |
|
dc.title.alternative |
Doctorate music composition : the portraits of Prasidh Silapabanleng |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Weerachat.P@Chula.ac.th,drwpremananda@yahoo.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2017.1474 |
|