DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่อยู่อาศัยกับสุขภาวะของผู้สูงวัย : อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor คัคนางค์ มณีศรี
dc.contributor.author เบญจภรณ์ ธโนศวรรย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-04-11T01:34:57Z
dc.date.available 2018-04-11T01:34:57Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58263
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อสำรวจผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่อยู่อาศัยต่อสุขภาวะของผู้สูงวัย ผู้ร่วมการวิจัยเป็นผู้สูงวัยจำนวน 400 คน ประกอบด้วยผู้สูงวัยที่อาศัยในบ้านพักส่วนตัว 200 คน และผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัย เช่น สวางคนิเวศ 200 คน กลุ่มตัวอย่างถูกประเมินเรื่องสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัย การเห็นคุณค่าของตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตน การเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์ และสุขภาวะส่วนบุคคล ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพบว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัยมีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อสุขภาวะของผู้สูงวัย และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์ เมื่อวิเคราะห์แต่ละกลุ่มเพิ่มเติมพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนมีอิทธิพลส่งผ่านแบบสมบูรณ์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัยและสุขภาวะของผู้สูงวัยที่อาศัยในบ้านพักส่วนตัว ในขณะที่การเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์มีอิทธิพลส่งผ่านบางส่วนต่อความสัมพันธ์นี้ในกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัย สภาพแวดล้อมทางสังคมของที่พักอาศัยมีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัยเท่านั้น แม้ว่าคะแนนสุขภาวะของกลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยในโครงการที่พักผู้สูงวัยจะสูงกว่าอีกกลุ่ม แต่ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to explore the impact of the social living environment on the elderly well-being. Participants were 400 elderly samples consisting of 200 elderly people living in private residence and 200 living in the elderly care residence. They were assessed their social living environment, personal self-esteem, relational self-esteem, and personal well-being. Structural equation modeling analysis shows that the social living environment has the positive direct effect on the elderly well-being and also has the indirect effect through personal and relational self-esteem. Additional analyses within each of two groups (i.e., those living in the private residence or those living in the elderly care residence) suggest that personal self-esteem fully mediated the relationship between the social living environment and well-being of the elderly people living in the private residence whereas personal self-esteem and relational self-esteem partially mediated this association of the elderly people living in the elderly care residence. The social living environment has the direct effect on the elderly well-being only of those living in the elderly care residence. Although the well-being mean score of those living in the elderly care residence is higher than does the other group, the difference is not statistically significant.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.792
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject ความนับถือตนเอง
dc.subject สุขภาวะ
dc.subject Older people
dc.subject Self-esteem
dc.subject Well-being
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางสังคมของที่อยู่อาศัยกับสุขภาวะของผู้สูงวัย : อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นอัตลักษณ์ตนและการเห็นคุณค่าในตนเองแบบเน้นความสัมพันธ์
dc.title.alternative Relationship between social living environment and well-being of the elderly : personal self-esteem and relational self-esteem as mediators
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Kakanang.M@Chula.ac.th,kakanang.M@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.792


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record