Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ และการปฏิบัติตามบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพตามกิจกรรมการถ่ายโอน ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย (สอ.) ในจังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2545 ถึง กุมภาพันธ์ 2546 กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิก อบต. จำนวน 651 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 582 คน (ร้อยละ 89.4 ) และเจ้าหน้าที่ สอ.จำนวน 218 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 192 คน (ร้อยละ 88.1) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired t-test, Unpaired t-test, One-way ANOVA และ Kruskal - Wallis test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิก อบต. มีการรับรู้บทบาทในแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น กิจกรรมการวางแผนครอบครัวที่อยู่ในระดับน้อย และมีการปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับน้อย ยกเว้นกิจกรรมการเฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตและการให้อาหารเสริม (นม) สำหรับเด็กนักเรียน และกิจกรรมการสนับสนุนชมรมผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่สมาชิก อบต.มีการรับรู้และปฏิบัติตามบทบาทในกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีหรือวิชาการเฉพาะ เช่น รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนงบประมาณ และประสานงาน เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างการรับรู้และการปฏิบัติ พบว่าแตกต่างกันทุกกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้และการปฏิบัติ ตามปัจจัยต่าง ๆ พบว่ามีความแตกต่างกันทุกกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามปัจจัยลักษณะของ อบต สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่ สอ. มีการรับรู้และปฏิบัติตามบทบาทในแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย (อายุแรกเกิด - 5 ปี) ที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ สอ. มีการรับรู้และปฏิบัติตามบทบาทน้อยเกี่ยวกับเรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนงบประมาณร่วมกับ อบต. เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างการรับรู้และการปฏิบัติตามบทบาท พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้และการปฏิบัติ ตามปัจจัยต่าง ๆ พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามปัจจัยการเคยได้รับการฝึกอบรม และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสร้างเสริมสุขภาพ จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรจะพัฒนาศักยภาพของสมาชิก อบต. และเจ้าหน้าที่ สอ. ทั้งในเรื่องความรู้ การประสานงาน ส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อเนื่อง กำหนดบทบาทของ อบต. และ สอ.ให้ชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ อส